วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ดุลการชำระเงิน

ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

         ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีหรือระบบเศรษฐกิจแบบเปิด อาศัยความเชี่ยวชาญและชำนาญการของแต่ละประเทศในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางความคิดของอดัมสมิธ การดำเนินการผลิตในลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดระบบการค้าระหว่างประเทศขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาของแต่ละประเทศเป็นอันมาก กล่าวคือ ทำให้มีสินค้าและบริการที่จะใช้อุปโภคและบริโภคมากขึ้น ระบบการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีการนำปัจจัยการผลิตที่ตนเองมีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการผลิตอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามแม้ว่าการค้าระหว่างประเทศจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่เกี่ยวข้อง แต่หากประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ได้มีการควบคุมอย่างมีระบบอาจจะทำให้ประเทศดังกล่าวประสบปัญหาในด้านดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งอาจจะมาจากมูลค่าการนำข้อมูลสินค้าและบริการจากต่างประเทศสูงกว่ามูลค่าสินค้าที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ และหากเกิดปัญหาดังกล่าวติดตามกันทุกปีอาจจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาซึ่งยังมีความต้องการเงินทุนในการพัฒนาประเทศเป็นจำนวนมาก
        ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึง มูลค่าสุทธิระหว่างการรับและการจ่าย ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินการทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจในประเทศหนึ่งประเทศใด กับหน่วยเศรษฐกิจของต่างประเทศประเทศในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยปกติจะเป็นเวลาหนึ่งปี อย่างไรก็ตามดุลการชำระเงินระหว่างประเทศจะประกอบไปด้วย
        (1) ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลบัญชีเดินสะพัดยังสามารถแยกย่อยออกได้เป็น
                (1.1) ดุลการค้า เป็นทุนรายรับและรายจ่ายในเกิดมาจากการส่งออกและการนำเข้าสินค้าและบริการ
                (1.2) ดุลบริการ เป็นดวงรายรับและรายจ่ายในด้านการบริการระหว่างประเทศเช่น การขนส่งและการประกันภัย
        (2) ดุลการเคลื่อนย้ายเงินทุน เป็นบุญของปริมาณเงินทุนที่ไหลเข้าและเงินทุนที่ไหลออก เงินทุนที่ไหลเข้าอาจจะประกอบไปด้วย  เงินลงทุนของชาวต่างประเทศ หรือเงินกู้ยืมส่วนเงินทุนไหลออกอาจจะประกอบไปด้วยการลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนประเทศนั้นหรือ การชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยจ่าย
        (3) ดูเงินโอน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ดุลเงินบริจาค  เป็นดุล การเงินที่ได้รับจากการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า เปรียบเทียบกับปริมาณเงินที่ประเทศนั้นๆ ให้ความช่วยเหลือกับประเทศอื่นในลักษณะการให้เปล่าเช่นกัน
        (4) ดุลเงินทุนสำรองทางราชการ เป็นดุลที่ทางการของประเทศเตรียมไว้เพื่อปรับให้ดุลการชำระเงินของประเทศให้มีความสมดุลที่กล่าวคือ หาประเทศมีดุลบัญชีเดินสะพัดรวมกับดุลการเคลื่อนย้ายเงินทุนและทุนเงินโดยขาดดุล ทางการของประเทศนั้นจะต้องดำเนินด้านใดด้านหนึ่งที่จะทำให้สามารถนำเงินมาชดเชยในส่วนที่ขาดไป  กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ต้องหาเงินมาชำระในส่วนที่ขาดไปนั่นเอง รูปแบบการหาเงินเพื่อมาชดเชยส่วนที่ขาดดุลก็คือ
         รูปแบบแรก คือ การเอาทองคำที่เป็นทุนสำรองของประเทศขายเพื่อที่จะได้เงินตราต่างประเทศมาชำระหนี้ที่ขาดดุล ทำให้ปริมาณทองคำที่เป็นทุนสำรองของประเทศลดลงกอปรกลับโดยปกติทองคำจะเป็นทุนสำรองในการออกเงินตราในในประเทศ   หาปริมาณทองคำถูกนำไปขาย เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ในส่วนที่ขาดดุล จะส่งผลถึงปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นทันที
         รูปแบบที่สอง คือ  การนำเอาเงินตราต่างประเทศที่เป็นทุนสำรอง นำไปชำระหนี้ที่ขาดดุล การดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลทำให้ทุนสำรองเงินตราลดลง และส่วนใหญ่เงินตราต่างประเทศจะถูกนำไปเป็นทุนสำรองในการออกเงินตราเพื่อใช้ในประเทศ หาเงินตราต่างประเทศถูกนำไปชำระหนี้ในส่วนที่ขาดดุลจะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นลดลง และจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นอย่างแน่นอน
          อย่างไรก็ตามปัญหาการขาดดุลการชำระเงินติดต่อกันไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศกล่าวคือ จะทำให้ประเทศนั้นไม่มีเงินตราต่างประเทศในการซื้อสินค้าและบริการจากประเทศอื่นมาใช้ในการดำรงชีพของประชาชนในประเทศ กอปรกับประเทศดังกล่าวยังต้องการเงินทุนในการพัฒนาประเทศอีกมาก อาจจะส่งผลทำให้การพัฒนาประเทศชะงักงันได้ ในทางตรงกันข้ามหากดุลการชำระเงินระหว่างประเทศเกินดุลจะส่งผลทำให้อำนาจซื้อในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเพราะหากประเทศใดเกินดุลการชำระเงินติดต่อกันจะทำให้ทุนสำรองในการออกเงินตราเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณเงินที่ออกมาใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจก็จะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณสินค้าและบริการมีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลทำให้ปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้จะใช้อุปโภคและบริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนจำเป็นที่จะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในประเทศ ส่งผลทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศเพิ่มสูงขึ้น และปริมาณการส่งออกจะลดน้อยลง และสุดท้ายประเทศดังกล่าวอาจจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง นอกจากนี้การเกินดุลการชำระเงินหากเป็นกะ โดนในส่วนของดุลเคลื่อนย้ายซึ่งอยู่ในส่วนของเงินกู้ยืม อาจจะส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ หากเงินกู้ดังกล่าวนำมาเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น เพื่อการบริโภคหรืออุปโภค เป็นต้น เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มอำนาจซื้อให้สูงขึ้น ส่งผลทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นแล้ว และเงินกู้บางส่วนอาจจะกลับคืนในรูปของการชำระค่าสินค้าและบริการที่นำมาจากต่างประเทศ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวไม่ได้เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้มาซื้อเงินตราต่างประเทศ เมื่อครบกำหนดการชำระหนี้คืน มักจะประสบปัญหาทันทีเพราะทุนสำรองเงินตราต่างประเทศลดน้อยลง และมีจำนวนน้อยกว่ามูลค่าหนี้ที่จะต้องชำระ

ที่มา : อารีย์ เชื้อเมืองพาน(2542),การเงินการธนาคาร
        : http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC353/EC353-4.pdf

1 ความคิดเห็น:

  1. การเงินระหว่างประเทศ

    การเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิดทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศขึ้น ส่งผลทำให้แต่ละประเทศจำเป็นต้องกำหนดระบบการเงินของประเทศตนเองให้สอดคล้องกับอารยประเทศ และเพื่อให้การค้าระหว่างประเทศสามารถดำเนินไปได้อย่างสะดวกราบรื่น จึงก่อให้เกิดตลาดการเงินระหว่างประเทศขึ้นเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ซึ่งตลาดการเงินระหว่างประเทศสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ตลาด คือตลาดเงินและตลาดทุนระหว่างประเทศ นอกจากจะมีตลาดการเงินระหว่างประเทศแล้ว ยังได้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งสถาบันการเงินระหว่างประเทศมีความแตกต่างจากสถาบันการเงินภายในประเทศ คือ สถาบันการเงินเหล่านี้จะทำหน้าที่ ได้ด้านการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนแก่กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
    นางสาวแววพลอย คงชนะ เลขที่4
    กลุ่มเรียนวันจันทร์เช้า

    ตอบลบ