วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ตลาดการเงินระหว่างประเทศ


ตลาดการเงินระหว่างประเทศ
ตลาดการเงินได้แบ่งแยกออกเป็น 2 ตลาด คือตลาดเงินและตลาดทุน ตลาดการเงินระหว่างประเทศก็มีลักษณะเช่นเดียวกันคือ แบ่งแยกออกเป็น 2 ตลาดคือตลาดเงินระหว่างประเทศและตลาดทุนระหว่างประเทศ
1. ตลาดเงินระหว่างประเทศ เป็นตลาดที่เกิดขึ้นมาเนื่องจากระบบการค้าขายที่มีการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ รวมถึงการให้กู้ยืมกันแต่เนื่องจากแต่ละประเทศมีสกุลเงินตราเป็นของตนเองดังนั้นการที่จะนำเงินตราสกุลหนึ่งไปใช้ในอีกประเทศหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ด้วยเหตุนี้ตลาดการเงินระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นมาเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ซึ่งหากพิจารณาคำนิยามของตลาดการเงินระหว่างประเทศแล้วจะหมายถึง สถานที่ที่ดำเนินธุรกรรมในด้านการซื้อขาย   แลกเปลี่ยน รวมถึงการให้กู้ยืมเงินโดยมีตราสารเครดิตที่มีอายุไม่เกิน 1 ปีเป็นเครื่องมือ ดังนั้นตลาดเงินระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศที่มีการติดต่อค้าขายหรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งความสำคัญของตลาดเงินระหว่างประเทศพอที่จะสรุปได้ดังนี้คือ
(1) ทำให้เกิดกระบวนการโอนอำนาจซื้อจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง  ซึ่ง รูปแบบการโอนอำนาจซื้อจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งอาจจะอยู่ใน 2 รูปแบบคือ
(1.1) เป็นการโอนอำนาจซื้อโดยการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศนั้นๆ เราคือเมื่อมีการซื้อสินค้ากันแล้วจะต้องมีการชำระเงินค่าสินค้าเป็นเงินตราสกุลของประเทศนั้นๆ หรืออาจ จะเป็นเงินตราสกุลอื่นที่ประเทศนั้นยอมรับ การดำเนินงานดังกล่าวจะดำเนินงานโดยผ่านตลาดเงินระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการนำเงินตราสกุลต่างประเทศที่ได้รับจากการขายสินค้าไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราสกุลของตนเองเป็นต้น
(1.2)  เป็นการโอนอำนาจซื้อโดยการให้กู้ยืม การโอนอำนาจซื้อในลักษณะนี้หากเปรียบเทียบกับตลาดเงินภายในประเทศแล้วตลาดเงินระหว่างประเทศเปรียบเสมือนสถาบันการเงินที่ทําหน้าที่ระดมเงินออมจากหน่วยเศรษฐกิจที่เกินดุล และจัดสรรเงินออมดังกล่าวไปสู่เศรษฐกิจที่ขาดดุล สิ่งที่แตกต่างกันก็คือขนาดของหน่วยเศรษฐกิจ กล่าวคือ ในตลาดเงินระหว่างประเทศหากกล่าวถึงหน่วยเศรษฐกิจที่ขาดดุลจะหมายถึงประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีความต้องการเงินทุนที่จะนำไปดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นๆ ส่วนหน่วยเศรษฐกิจที่เกินดุลก็หมายถึงประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง มีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศเกินดุลอยู่เสมอนั่นเอง ดังนั้น การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีความต้องการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อนำไปพัฒนาประเทศของตนเองจะต้องดำเนินการผ่านตลาดเงินระหว่างประเทศ เพราะนอกจากจะได้รับความสะดวกแล้วตลาดเงินระหว่างประเทศยังสามารถที่จะช่วยให้ผู้กู้ยืมหาแหล่งเงินทุนที่มีความเหมาะสมเช่น ต้นทุนหรืออัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น
(2) ตลาดเงินระหว่างประเทศจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ   กล่าวคือ หน่วยเศรษฐกิจทุกหน่วยที่อยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถที่จะใช้บริการในการกู้ยืมหรือให้กู้ยืมโดยผ่านตลาดเงินระหว่างประเทศได้ ซึ่งการกู้ยืมเงินผ่านตลาดเงินระหว่างประเทศจะอาศัยเครื่องมือทางการเงินระยะสั้น
(3)  ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าของอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ได้แต่ละประเทศจะมีโครงสร้างการผลิตที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อมีตลาดเงินระหว่างประเทศช่วยอำนาจความสะดวกในการชำระค่าสินค้าตลอดจนถึงการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆ มาเป็นเงินตราสกุลของประเทศตนเอง จึงทำให้การค้าขายระหว่างประเทศมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการขยายการผลิตในประเทศต่างๆมากขึ้น การจ้างงาน ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น รายได้ของแต่ละประเทศก็จะเพิ่มสูงขึ้น และนอกจากนี้ตลาดเงินระหว่างประเทศยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาที่มีเงินทุนในการพัฒนาประเทศต่ำ ซึ่งรูปแบบการช่วยเหลือ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เช่น การให้กู้ยืมเงิน หรือการลงทุนโดยตรงของผู้ลงทุนจากประเทศอื่น เป็นต้น การดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลดีต่อประเทศนั้นๆ และก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของโลก

ในปัจจุบันตลาดเงินระหว่างประเทศที่สำคัญสำคัญจะประกอบไปด้วย (1) ตลาดยูโรดอลล่าร์( Euro-dayllar Makket) เป็นตลาดเงิน ที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของโลก เพราะเป็นตลาดเงินระหว่างประเทศที่เป็นแหล่งเงินกู้ที่สำคัญที่สุดของโลก ยูโรดอลล่าร์ หมายถึง เงินฝากสกุลดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกาที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์อื่นนอกประเทศ สาเหตุที่เกิดตลาดยูโรดอลลาร์ก็คือ กลุ่มประเทศสังคมนิยมบางประเทศต้องการถือเงินไว้ในรูปแบบของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา แต่หากฝากเงินดังกล่าวไว้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่าจะถูกสหรัฐอเมริกายึดไว้เพื่อชดใช้ค่าเสียหายในทรัพย์สินของชาวอเมริกาที่อาศัยอยู่ในประเทศของตน ด้วยสาเหตุนี้กลุ่มประเทศสังคมนิยมเหล่านี้เลยนิยมนำเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาไปฝากไว้กับธนาคารแห่งรัฐของสหภาพโซเวียตที่เปิดสาขาอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีชื่อว่า "The Banque Commercial pour I'Europe du Nord S.A. ซึ่งได้ใช้รหัสโทรเลขในการติดต่อ ตลาดเงินตราระหว่างประเทศว่า "Eurobank" ทำให้ผู้ที่ติดต่อ ซื้อขายเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกาผ่านธนาคารนี้มักจะเรียกเงินดอลลาร์ที่ได้รับว่า "ยูโรดอลล่าร์" ตลาดยูโรดอลล่าร์ มีศูนย์กลางที่สำคัญอยู่หลายแห่งเช่น กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประเทศแคนาดา ประเทศเยอรมันนี สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ตลาดยูโรดอลล่าร์ มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเงินดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกาได้กระจายไปสู่ประเทศต่างๆมากขึ้น ทั้งในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ เงินให้กู้ยืมรวมถึงเงินที่ชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งส่งผลทำให้กิจการของธนาคารพาณิชย์มีการขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากมีการกู้ยืมเงินยูโรดอลล่าร์ผ่านธนาคารพาณิชย์มากขึ้น รวมถึงมีการรับซื้อและขายเงินยูโรดอลล่าร์มากขึ้น ทำให้ ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกำไรจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดีการที่ปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาได้กระจายไปสู่ประเทศอื่นมากมายจึงเป็นการยากที่สหรัฐอเมริกาจะสามารถควบคุมระบบการเงินของประเทศของตนเองได้ นอกจากนี้ตลาดยูโรดอลลาร์ยังมีความเสี่ยงจากการให้กู้ยืมสูงเพราะการให้กู้ยืมในแต่ละครั้งมีปริมาณเงินค่อนข้างมากแต่หลักประกันไม่มีความมั่นคงพอ (2) ตลาดอาเซียนดอลลาร์ (Aslan-dollar Market) เกิดขึ้นเนื่องจากโครงการความช่วยเหลือที่รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในเขตภูมิอากาศเอเชียซึ่งการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาจะโอนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ดังนั้นทำให้ปริมาณเงินดอลลาร์ที่หมุนเวียนอยู่ในภูมิภาคเอเชียเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงมีการจัดตั้งตลาดอาเซียนดอลลาร์ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลอื่นกับเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งสิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย ต่อมาได้มีการขยายไปยังประเทศญี่ปุ่นและฮ่องกง สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการวางแผนพัฒนาระบบการเงินเพื่อให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคเอเชีย การปรับปรุงระบบการเงินของประเทศไทยที่ผ่านมาเช่น การยกเลิกเพดานดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก การขยายกิจกรรมของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงการกำหนดอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์ตามมาตรฐาน BIS (Bank of lnternational Settlement) ส่วนกระบวนการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินนั้นประกอบไปด้วย (1) การพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดสรรเงินทุน กล่าวคือ ได้มีการสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ไทยไปเปิดสาขาหรือร่วมลงทุนกับธนาคารท้องถิ่นในกลุ่มประเทศอินโดจีน นอกจากนี้ได้มีการขยายขอบเขตของการใช้เงินบาทในด้านการค้าและการลงทุนเช่น การเพิ่มวงเงินที่จะนำออกนอกประเทศ การอนุญาตให้นำเงินบาทออกไปลงทุนในกลุ่มประเทศอินโดจีนและการสนับสนุนให้มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (letter of credit) และตั๋วเรียกเก็บเงินเป็นเงินบาท สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ (International Banking F acilities) ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งกิจการวิเทศธนกิจ หมายถึง กิจการของธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศ กู้ยืมในประเทศ และธุรกิจวิเทศธนกิจอื่นๆ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้สถาบันการเงินที่มีความพร้อมดำเนินธุรกรรม BIBF (Bankok International Banking Facilities) (2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินเฉพาะอย่าง กล่าวคือ ได้มีการอนุญาตให้สถาบันการเงินต่างประเทศในการดำเนินธุรกรรม BIBF ได้ นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาธุรกิจด้านการซื้อขาย การกู้ยืมระหว่างประเทศ รวมถึงตลาดทางการเงินล่วงหน้า นอกจากนี้ ยังได้มีการปฏิรูปตลาดทุนให้มีการระดมเงินทุน (3) การพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงินแบบครบวงจร กล่าวคือ ประเทศไทยจะต้องเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีการให้บริการในประเทศ และต่างประเทศ โดยมีสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ 2. ตลาดเงินระหว่างประเทศ
ตลาดทุนระหว่างประเทศหมายถึง ศูนย์รวมของกิจกรรม ระหว่างประเทศที่ดำเนินกิจกรรมในด้านการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุการไถ่ถอนมากกว่า 1 ปี ตลาดทุนระหว่างประเทศยังแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
(1) ตลาดทุนภายในประเทศ หมายถึง ตลาดทุนที่ดำเนินกิจกรรมภายในกฎระเบียบของประเทศนั้นๆ และมีสถาบันการเงิน ผู้ลงทุนเป็นคนในประเทศนั้นๆ ทั้งนี้รวมถึงนักลงทุนชาวต่างประเทศที่มาลงทุนด้วย แต่ต้องอยู่ภายในกฎระเบียบของประเทศนั้นๆ
(2) ตลาดทุนภายนอก หมายถึง ตลาดที่ดำเนินกิจกรรมในแต่ละภูมิภาคหรือแต่ละประเทศ แต่การดำเนินกิจกรรมของตลาดดังกล่าวมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ในปัจจุบันตลาดหุ้นระหว่างประเทศที่สำคัญๆ
ประกอบไปด้วย
(1) ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดทุนที่ดำเนินกิจกรรมด้านการขายพันธบัตรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะตลาดพันธบัตรแยงกี้ ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด และเป็นตลาดที่มีผู้นิยมนำพันธบัตรมาขายในจำนวนมาก
(2) ตลาดญี่ปุ่น เป็นตลาดทุนที่ดำเนินกิจกรรมด้านการให้กู้ยืมเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา รวมถึงการซื้อขายพันธบัตรต่างประเทศ
(3) ตลาดทุนอังกฤษ เป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินยูโร จึงทำให้กิจกรรมการออกตราสารมาจำหน่ายมีเป็นจำนวนมาก กอปรกลับเป็นตลาดที่ดำเนินงานได้อย่างเสรี
(4) ตลาดหุ้นอิตาลีและสเปน เป็นตลาดที่ให้กู้ยืมแก่ภาครัฐบาลเป็นสำคัญอย่างไรก็ตามตลาดทุนระหว่างประเทศที่กล่าวมาแล้วข้างต้นล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศและของโลก ทั้งนี้เนื่องจากตลาดทุนระหว่างประเทศจะทำหน้าที่โอนเงินออมจากประเทศที่เกินดุลไปสู่ประเทศที่ขาดดุล ทำให้ประเทศที่ขาดดุลมีเงินทุนที่พอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตนเอง และสามารถที่จะพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายที่วางเอาไว้


ที่มา : http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC353/EC353-2.pdf
: อารีย์ เชื้อเมืองพาน(2542),การเงินการธนาคาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น