วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561

รายชื่อสมาชิกผู้จัดทำ

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการเงินธุรกิจ 
คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
จัดทำโดย
1.นางสาวณัฏฐนิชา วรรณบุตร
2.นางสาวมะลิสา สิริรจน์
3.นางสาวนิรมล พรรณา 
4.นางสาวอินทิรา ชูเส้นผม
5.นางสาวศิรดา ทาทอง
6.นางสาวพลอยพัชรินทร์ นามเวช
7.นางสาวปวีณา ศาลางาม
8.นางสาวกัญญารัตน์ ศรีคุณ
9.นางสาวสุกัญญา สุดฉลาด
นักศึกษาเรียนวันจันทร์-เช้า
เสนอ
อาจารย์อารยา อึงไพบูลย์กิจ

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

5.2 การเงินระหว่างประเทศ

การเงินระหว่างประเทศ

            การเงินระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เป็นระบบเศรษฐกิจแบบเปิดทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศขึ้น ส่งผลทำให้แต่ละประเทศจำเป็นต้องกำหนดระบบการเงินของประเทศตนเองให้สอดคล้องกับอารยประเทศ และเพื่อให้การค้าระหว่างประเทศสามารถดำเนินไปได้อย่างสะดวกราบรื่น จึงก่อให้เกิดตลาดการเงินระหว่างประเทศขึ้นเพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ซึ่งตลาดการเงินระหว่างประเทศสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ตลาด คือตลาดเงินและตลาดทุนระหว่างประเทศ นอกจากจะมีตลาดการเงินระหว่างประเทศแล้ว ยังได้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งสถาบันการเงินระหว่างประเทศมีความแตกต่างจากสถาบันการเงินภายในประเทศ คือ สถาบันการเงินเหล่านี้จะทำหน้าที่ ได้ด้านการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนแก่กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

ที่มา : อารีย์ เชื้อเมืองพาน(2542),การเงินการธนาคาร

ดุลการชำระเงิน

ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

         ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีหรือระบบเศรษฐกิจแบบเปิด อาศัยความเชี่ยวชาญและชำนาญการของแต่ละประเทศในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางความคิดของอดัมสมิธ การดำเนินการผลิตในลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดระบบการค้าระหว่างประเทศขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาของแต่ละประเทศเป็นอันมาก กล่าวคือ ทำให้มีสินค้าและบริการที่จะใช้อุปโภคและบริโภคมากขึ้น ระบบการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีการนำปัจจัยการผลิตที่ตนเองมีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการผลิตอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามแม้ว่าการค้าระหว่างประเทศจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่เกี่ยวข้อง แต่หากประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ได้มีการควบคุมอย่างมีระบบอาจจะทำให้ประเทศดังกล่าวประสบปัญหาในด้านดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งอาจจะมาจากมูลค่าการนำข้อมูลสินค้าและบริการจากต่างประเทศสูงกว่ามูลค่าสินค้าที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ และหากเกิดปัญหาดังกล่าวติดตามกันทุกปีอาจจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาซึ่งยังมีความต้องการเงินทุนในการพัฒนาประเทศเป็นจำนวนมาก
        ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หมายถึง มูลค่าสุทธิระหว่างการรับและการจ่าย ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินการทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจในประเทศหนึ่งประเทศใด กับหน่วยเศรษฐกิจของต่างประเทศประเทศในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยปกติจะเป็นเวลาหนึ่งปี อย่างไรก็ตามดุลการชำระเงินระหว่างประเทศจะประกอบไปด้วย
        (1) ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลบัญชีเดินสะพัดยังสามารถแยกย่อยออกได้เป็น
                (1.1) ดุลการค้า เป็นทุนรายรับและรายจ่ายในเกิดมาจากการส่งออกและการนำเข้าสินค้าและบริการ
                (1.2) ดุลบริการ เป็นดวงรายรับและรายจ่ายในด้านการบริการระหว่างประเทศเช่น การขนส่งและการประกันภัย
        (2) ดุลการเคลื่อนย้ายเงินทุน เป็นบุญของปริมาณเงินทุนที่ไหลเข้าและเงินทุนที่ไหลออก เงินทุนที่ไหลเข้าอาจจะประกอบไปด้วย  เงินลงทุนของชาวต่างประเทศ หรือเงินกู้ยืมส่วนเงินทุนไหลออกอาจจะประกอบไปด้วยการลงทุนในต่างประเทศของนักลงทุนประเทศนั้นหรือ การชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยจ่าย
        (3) ดูเงินโอน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ดุลเงินบริจาค  เป็นดุล การเงินที่ได้รับจากการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า เปรียบเทียบกับปริมาณเงินที่ประเทศนั้นๆ ให้ความช่วยเหลือกับประเทศอื่นในลักษณะการให้เปล่าเช่นกัน
        (4) ดุลเงินทุนสำรองทางราชการ เป็นดุลที่ทางการของประเทศเตรียมไว้เพื่อปรับให้ดุลการชำระเงินของประเทศให้มีความสมดุลที่กล่าวคือ หาประเทศมีดุลบัญชีเดินสะพัดรวมกับดุลการเคลื่อนย้ายเงินทุนและทุนเงินโดยขาดดุล ทางการของประเทศนั้นจะต้องดำเนินด้านใดด้านหนึ่งที่จะทำให้สามารถนำเงินมาชดเชยในส่วนที่ขาดไป  กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ต้องหาเงินมาชำระในส่วนที่ขาดไปนั่นเอง รูปแบบการหาเงินเพื่อมาชดเชยส่วนที่ขาดดุลก็คือ
         รูปแบบแรก คือ การเอาทองคำที่เป็นทุนสำรองของประเทศขายเพื่อที่จะได้เงินตราต่างประเทศมาชำระหนี้ที่ขาดดุล ทำให้ปริมาณทองคำที่เป็นทุนสำรองของประเทศลดลงกอปรกลับโดยปกติทองคำจะเป็นทุนสำรองในการออกเงินตราในในประเทศ   หาปริมาณทองคำถูกนำไปขาย เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ในส่วนที่ขาดดุล จะส่งผลถึงปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นทันที
         รูปแบบที่สอง คือ  การนำเอาเงินตราต่างประเทศที่เป็นทุนสำรอง นำไปชำระหนี้ที่ขาดดุล การดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลทำให้ทุนสำรองเงินตราลดลง และส่วนใหญ่เงินตราต่างประเทศจะถูกนำไปเป็นทุนสำรองในการออกเงินตราเพื่อใช้ในประเทศ หาเงินตราต่างประเทศถูกนำไปชำระหนี้ในส่วนที่ขาดดุลจะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นลดลง และจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นอย่างแน่นอน
          อย่างไรก็ตามปัญหาการขาดดุลการชำระเงินติดต่อกันไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศกล่าวคือ จะทำให้ประเทศนั้นไม่มีเงินตราต่างประเทศในการซื้อสินค้าและบริการจากประเทศอื่นมาใช้ในการดำรงชีพของประชาชนในประเทศ กอปรกับประเทศดังกล่าวยังต้องการเงินทุนในการพัฒนาประเทศอีกมาก อาจจะส่งผลทำให้การพัฒนาประเทศชะงักงันได้ ในทางตรงกันข้ามหากดุลการชำระเงินระหว่างประเทศเกินดุลจะส่งผลทำให้อำนาจซื้อในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเพราะหากประเทศใดเกินดุลการชำระเงินติดต่อกันจะทำให้ทุนสำรองในการออกเงินตราเพิ่มสูงขึ้น ปริมาณเงินที่ออกมาใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจก็จะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณสินค้าและบริการมีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลทำให้ปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้จะใช้อุปโภคและบริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ และบางส่วนจำเป็นที่จะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในประเทศ ส่งผลทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการในประเทศเพิ่มสูงขึ้น และปริมาณการส่งออกจะลดน้อยลง และสุดท้ายประเทศดังกล่าวอาจจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง นอกจากนี้การเกินดุลการชำระเงินหากเป็นกะ โดนในส่วนของดุลเคลื่อนย้ายซึ่งอยู่ในส่วนของเงินกู้ยืม อาจจะส่งผลกระทบต่อการชำระหนี้ หากเงินกู้ดังกล่าวนำมาเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น เพื่อการบริโภคหรืออุปโภค เป็นต้น เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มอำนาจซื้อให้สูงขึ้น ส่งผลทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นแล้ว และเงินกู้บางส่วนอาจจะกลับคืนในรูปของการชำระค่าสินค้าและบริการที่นำมาจากต่างประเทศ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวไม่ได้เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้มาซื้อเงินตราต่างประเทศ เมื่อครบกำหนดการชำระหนี้คืน มักจะประสบปัญหาทันทีเพราะทุนสำรองเงินตราต่างประเทศลดน้อยลง และมีจำนวนน้อยกว่ามูลค่าหนี้ที่จะต้องชำระ

ที่มา : อารีย์ เชื้อเมืองพาน(2542),การเงินการธนาคาร
        : http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC353/EC353-4.pdf

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ตราสารทางการเงินระหว่างประเทศ


ตราสารทางการเงินในตลาดระหว่างประเทศ

  
         ในปัจจุบันตราสารทางการเงินในตลาดการเงินระหว่างประเทศ ได้มีการพัฒนารูปแบบของสินค้าใหม่ ๆและมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งในเรื่องของอัตราผลตอบแทน ความเสี่ยง ระยะเวลาในการลงทุน ระยะเวลาในการจ่ายผลตอบแทน สภาพคล่อง เงื่อนไขในการไถ่ถอน ผู้ออกตราสาร รวมทั้งสกุลเงินตราที่ใช้ในการลงทุน เป็นต้น สามารถแบ่งตามประเภทที่ออกได้ ดังนี้
     1.ตราสารทุน (Equity Instrument)
     2.ตราสารหนี้ (Debt instrument)
     3.ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (Hybrid instrument)
     4.ตราสารอนุพันธ์
ตราสารทุน (Equity Instrument) 
        ตราสารทุนที่มีการซื้อขายกันในตลาดระหว่างประเทศก็มีลักษณะคล้ายกับในตลาดท้องถิ่น เพียงแต่การลงทุนในตลาดระหว่างประเทศนั้นมีทางเลือกที่หลากหลายกว่า ทั้งในแง่ทางภูมิศาสตร์และตัวสินค้า นักลงทุนสามารถเลือกที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตามภูมิภาคต่างๆทั้งในตลาดประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ยุโรป เป็นต้น และตลาดเกิดใหม่ ( Emerging market ) เช่น บราซิล อาร์เจนตินา อินเดีย ไทย มาเลเซีย จีน เป็นต้น ซึ่งทั้งสองตลาดข้างต้นมีความแตกต่างกัน   โดยทั่วไปการลงทุนในตลาดเกิดใหม่จะให้อัตราผลตอบแทนสูง ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงและความผันผวนมากกว่าเช่นกัน นอกจากนี้การลงทุนในตลาดระหว่างประเทศมักจะมีสินค้าที่หลากหลายครอบคลุมอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งมีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดจำนวนมาก จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการแสวงหาตราสารที่ให้ผลตอบแทนสูงภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
     ตราสารทุนที่มีการซื้อขายกันในตลาดระหว่างประเทศประกอบด้วย 2 ประเภทที่สำคัญ ได้แก่
      1.หุ้นสามัญ (Common stocks) คือ ตราสารทุนที่แสดงสิทธิความเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการออกเสียงเพื่อมีส่วนในการบริหารกิจการตามสัดส่วนหุ้นที่ถืออยู่ และได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล   ซึ่งเงินปันผลนี้กิจการจะจ่ายตามผลการดำเนินงานหรือผลกำไรที่ได้รับ   หากปีใดกิจการมีกำไรมากก็จะจ่ายเงินปันผลมากและปีใดที่มีกำไรน้อยก็จ่ายเงินปันผลน้อย ถ้าขาดทุนก็ไม่จ่ายเงินปันผล ดังนั้นผลตอบแทนจากเงินปันผลจึงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานเป็นหลัก 
      2.หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred stocks) คือ ตราสารทุนคล้ายกับหุ้นสามัญ แต่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิในการออกเสียงเพื่อบริหารกิจการ อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่ระบุไว้และได้รับการจัดสรรเงินปันผลก่อนหุ้นสามัญ รวมทั้งได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ หุ้นประเภทนี้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหุ้นสามัญ จึงมีสภาพคล่องค่อนข้างต่ำ
        โดยทั่วไปผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารทุนประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
ผลตอบแทนจากตราสารทุน = เงินปันผล + กำไร/ขาดทุนจากการซื้อขายหลักทรัพย์
         จะเห็นว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารทุนมีความไม่แน่นอน ทั้งจากเงินปันผลและกำไร/ขาดทุนจากการซื้อขาย ในช่วงที่ภาวะตลาดหลักทรัพย์ดีนักลงทุนอาจสามารถทำกำไรจากส่วนต่างราคาซื้อขายหลักทรัพย์ (Capital gain) ได้มาก สำหรับในช่วงที่ภาวะตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำซบเซาก็อาจประสบกับการขาดทุนจากส่วนต่างราคาซื้อขายหลักทรัพย์ (Capital loss) ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการลงทุนในตราสารทุนมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง
         ตลาดสำคัญที่ซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทนี้    ได้แก่  ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ( New York Stock Exchange: NYSE ) ตลาดหุ้นแนสแด็ก (NASDAQ Stock Market) ตลาดหุ้นโตเกียว (Tokyo Stock Exchange) ตลาดหุ้นลอนดอน (London Stock Exchange)


ตราสารหนี้ (Debt instrument)
         ตราสารหนี้ คือ ตราสารที่แสดงความเป็นหนี้ระหว่างกัน โดยผู้ออกตราสารหนี้ระดมเงินหรือกู้ยืมเงินจากผู้ซื้อตราสารและมีสัญญาจะจ่ายคืนเมื่อครบกำหนดเวลา รวมทั้งจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆจำนวนหนึ่งตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ ตราสารหนี้ระหว่างประเทศมีความหลากหลายทั้งผู้ออกและมีสินค้าให้เลือกลงทุนจำนวนมาก ตราสารหนี้ที่สำคัญ ได้แก่ ตราสารหนี้ยูโร (Eurobond) ตราสารหนี้ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีน และ อินเดีย เป็นต้น โดยทั่วไปตราสารหนี้แบ่งตามประเภทผู้ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ และตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน

ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ
         1.ตั๋วเงินคลัง (Treasury bill) เป็นตราสารหนี้ระยะสั้นที่ออกโดยรัฐบาลมีอายุการไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี เช่น 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น จำหน่ายโดยวิธีประมูลและผู้ลงทุนจ่ายชำระเงินในราคาหน้าตั๋วหักส่วนลด (Discount) เมื่อครบกำหนดผู้ถือกรรมสิทธิ์จะได้รับเงินต้นคืนเต็มจำนวนในราคาที่ตราไว้หน้าตั๋ว โดยทั่วไปมักเป็นการกู้เพื่อนำไปชดเชยการขาดดุลเงินสดของรัฐบาล ตั๋วเงินคลังนับเป็นตราสารการเงินระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงและเป็นที่ต้องการในท้องตลาด ตัวอย่างตั๋วเงินคลังที่ได้รับความนิยมในตลาดระหว่างประเทศ เช่น ตั๋วเงินคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ ตั๋วเงินคลังของรัฐบาลสหราชอาณาจักร เป็นต้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีเงินเหลือในช่วงสั้นๆและต้องการความปลอดภัยของเงินลงทุน โดยที่อัตราดอกเบี้ยไม่สูงนัก
        2.พันธบัตรรัฐบาล (Government bonds) เป็นตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาวที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ พันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ ซามูไรบอนด์ เป็นต้น เพื่อระดมเงินไปใช้ในการบริหารประเทศ ตราสารทางการเงินประเภทนี้ถือว่าไม่มีความเสี่ยง โดยความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระคืนหรือความเสี่ยงจากหนี้สูญ ( Default risk ) เนื่องจากรัฐบาลสามารถระดมเงินจากภาษีอากรมาไถ่ถอนคืนพันธบัตรเมื่อครบอายุไถ่ถอน อย่างไรก็ตามความเสี่ยงอื่นๆยังคงอยู่ เช่น หากนักลงทุนที่ลงทุนในพันธบัตรด้วยเงินตราต่างสกุลกับสกุลท้องถิ่น ก็ยังถือว่ามีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Currency risk) เกิดขึ้น เป็นต้น
        3.พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (Agency bonds) เป็นตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาวที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะได้รับการค้ำประกันโดยรัฐบาลจึงถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ การค้ำประกันโดยรัฐบาลจะทำให้พันธบัตรมีความน่าเชื่อถือและสามารถระดมเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ มักเป็นการระดมเงินเพื่อนำไปใช้ในกิจการสาธารณะ เช่น การสร้างสาธารณูปโภคในประเทศกำลังพัฒนา หรือกิจการเกี่ยวกับการศึกษา สำหรับตัวอย่างผู้ออกตราสารประเภทนี้ เช่น สมาคมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (Student Loan Marketing Association) ในสหรัฐฯ พันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ออกจำหน่ายในต่างประเทศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันจะให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าที่รัฐบาลค้ำประกัน โดยทั่วไปพันธบัตรที่มีอายุการไถ่ถอนยาวก็ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรที่มีอายุการไถ่ถอนสั้น

ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน
        หุ้นกู้เอกชน (Corporate bonds) คือ หุ้นกู้ที่ออกโดยภาคเอกชนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเงินทุนไปใช้ในการลงทุนและขยายธุรกิจ ในตลาดระหว่างประเทศหุ้นกู้ประเภทนี้มีความหลากหลายให้เลือกลงทุน นับตั้งแต่อายุการไถ่ถอน อัตราผลตอบแทน เงื่อนไขในการไถ่ถอน อันดับความน่าเชื่อถือ ( Credit rating ) และบริษัทผู้ออกตราสาร โดยผลตอบแทนที่จะได้รับจะกำหนดเป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตายตัวหรือลอยตัวก็ได้ ระยะเวลาในการจ่ายดอกเบี้ย และมีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนแน่นอน เช่น หุ้นกู้ของบริษัท ก. มีอายุการไถ่ถอน  5 ปี จ่ายดอกเบี้ย ในอัตรา  4% ต่อปี โดยแบ่งจ่ายปีละ  2 ครั้ง คือ  30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคมของทุกปี เป็นต้น นอกจากนี้หุ้นกู้เอกชนยังมีรายละเอียดแตกต่างกันไป เช่น
        1.หุ้นกู้มีหลักประกันและหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน (Secured bonds and Unsecured bonds) โดยทั่วไปหุ้นกู้ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ หุ้นกู้มีหลักประกันและหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน สำหรับหุ้นกู้มีหลักประกัน คือ หุ้นกู้ที่นำสินทรัพย์มาค้ำประกันการออกหลักทรัพย์นั้นๆ ในกรณีที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ล้มละลายหรือประสบปัญหาทางการเงินไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้ ก็จะนำหลักทรัพย์ค้ำประกันดังกล่าวออกมาใช้หนี้แทน ดังนั้นหุ้นกู้มีหลักประกันจึงมีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน
        2.หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิและหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Senior bond and Subordinated bond) สำหรับหุ้นกู้ด้อยสิทธิ หมายถึง หุ้นกู้ที่ได้รับสิทธิในการชำระเงินหลังจากเจ้าหนี้รายอื่นๆ แต่ก่อนผู้ถือหุ้นในกรณีที่บริษัทล้มละลาย ส่วนใหญ่หุ้นกู้ด้อยสิทธิจะจ่ายอัตราผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้นนั่นเอง และผู้ออกมักจะเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทที่มีความมั่นคงมีชื่อเสียง ในปัจจุบันหุ้นกู้ประเภทนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในตลาดระหว่างประเทศเนื่องจากให้อัตราผลตอบแทนดี ขณะเดียวกันนักลงทุนก็มั่นใจในความมั่นคงของบริษัทผู้ออกตราสารในระดับหนึ่ง

ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (Hybrid Instrument)
         ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนเป็นตราสารทางการเงินที่ออกครั้งแรกเป็นตราสารหนี้ แต่มีเงื่อนไขให้ผู้ถือสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งเป็นตราสารทุนของบริษัทผู้ออกได้ในช่วงเวลา อัตรา และราคาที่กำหนดไว้ ตัวอย่างของตราสารประเภทนี้ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ ( Convertible debenture ) หุ้นกู้พร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิ (Debenture with warrants) เป็นต้น ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนมีการซื้อขายและได้รับความนิยมมากในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจดี เพราะผู้ซื้อคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้รับจากราคาหุ้นสามัญที่สูงขึ้นเมื่อแปลงสภาพหรือใช้สิทธิในใบสำคัญแสดงสิทธิแล้ว ซึ่งจะทำกำไรได้มากกว่าผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยของหุ้นกู้ธรรมดา ตัวอย่างตราสารประเภทนี้ เช่น หุ้นกู้ยูโรแปลงสภาพ (Euro Convertible Debenture: ECD) การออกตราสารประเภทนี้มักเกิดจากบริษัทผู้ออกมองว่าในขณะนั้นภาวะตลาดหุ้นไม่ดี หากออกหุ้นสามัญจำหน่ายอาจได้ราคาไม่ดีหรือจำหน่ายได้น้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้ จึงตัดสินใจออกเป็นหุ้นกู้แล้วให้แปลงสภาพในภายหลัง อย่างไรก็ตามหุ้นกู้แปลงสภาพมักมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าหุ้นกู้ธรรมดา ดังนั้นในแง่ของนักลงทุนแล้วอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนอาจต่ำลงในช่วงแรกแต่ได้ประโยชน์จากการแปลงสภาพเป็นตราสารทุนดังกล่าว
ตราสารอนุพันธ์
        การใช้ตราสารอนุพันธ์ในการบริหารความเสี่ยงทางการเงินของธุรกิจระหว่างประเทศ
        เครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่ธุรกิจเผชิญอยู่ ส่วนมากจะอาศัยตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยง หรือลดความเสี่ยงในอันที่จะทำให้ธุรกิจต้องเกิดความสูญเสียทางการเงินอันเกิดจากธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ ตราสารอนุพันธ์ประกอบด้วย

       1.สัญญาฟอร์เวิร์ด (Forward Contract) เป็นสัญญาข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในการที่จะรับและส่งมอบสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เงินตราต่างประเทศ ในราคาที่ระบุไว้ ( Exercise Price ) ณ วันสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนด (Settlement Date of Delivery Date) ส่วนมากสัญญาฟอร์เวิร์ดนิยมใช้กับการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน โดยลักษณะของสัญญาฟอร์เวิร์ดจะไม่มีเงื่อนไขที่แน่นอน ไม่มีสัญญาที่เป็นมาตรฐานขึ้นอยู่กับความต้องการทั้งสองฝ่าย และการซื้อขายเป็นแบบนอกตลาด ( Over the Counter หรือ OTC ) ทำให้ไม่มีตลาดรอง ซึ่งมีผลให้สัญญาฟอร์เวิร์ด (Forward Contract) มีสภาพคล่องต่ำ
       2.สัญญาฟิวเจอร์ (Futures Contract)เป็นสัญญาข้อตกลงในการซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงในราคาที่กำหนด และมีการส่งมอบกันในอนาคต เป็นสัญญามีมาตรฐาน มีองค์กรรองรับเป็นตลาดที่เป็นทางการ ซึ่งต่างจากสัญญาฟอร์เวิร์ดที่ทำการซื้อขายแบบนอกตลาด โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าทางเกษตร สินค้าโภคภัณฑ์ และสินทรัพย์ทางการเงิน ตลาดใหญ่ที่ทำการแลกเปลี่ยนสัญญา ซื้อขายในอนาคต (Futures Contract) ในสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญมีอยู่ 2 ตลาด คือ CBOT (The Chicago Board of Trade) และ CME (The Chicago Mercantile Exchange) การซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์ (Futures Contract) ไม่เพียงแต่เป็นที่นิยมในตลาดสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมในตลาดอื่นด้วย อีกทั้ง สินทรัพย์อ้างอิงไม่ได้มีเพียงแต่สินค้าเกษตร แต่ยังมีสินทรัพย์ทางการเงิน และสินค้าโภคภัณฑ์ อื่นอีกด้วย
        ประเทศไทยมีตราสารฟิวเจอร์ที่ทำการซื้อขายกันในตลาดอนุพันธ์ของประเทศไทย ได้แก่ Set 50 Index Futures, Single Stock Futures และ Gold Futures
       3.ตราสารสิทธิ (Option) ในช่วงแรกๆ ตราสารสิทธิที่มีการซื้อขายกันเป็นเครื่องมือทางการเงินในตลาด OTC ( Over the Counter ) ซึ่งเป็นการซื้อขายแบบไม่เป็นทางการ ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาตลาดซื้อขายตราสารสิทธิและก่อให้เกิดสัญญาที่มีมาตรฐานและเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดมากขึ้น ตราสารสิทธิ (Option) คือ สัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ซื้อและผู้ขาย (ผู้ออก) โดยผู้ขายให้สิทธิกับผู้ซื้อที่จะทำการซื้อ /ขาย สินค้าตามจำนวนและราคาที่ระบุไว้ โดยผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินค่า Option เรียกว่า ค่าพรีเมี่ยม (Premium) ให้กับผู้ขายเป็นการตอบแทนเพื่อแลกกับการได้สิทธิตามสัญญานั้น ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทในประเทศไทยส่งสินค้าไปขายในประเทศสหรัฐอเมริกามูลค่า  1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผู้ขายให้เครดิต 90 วัน เมื่อครบ 90 วัน หากอัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นกว่า 35 บาทต่อเหรียญตามที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ส่งออกก็จะได้ประโยชน์ เนื่องจากเงินชำระค่าสินค้า  1 ล้านเหรียญจะมีมูลค่าเป็นเงินบาทสูงขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่า 35 บาทต่อเหรียญผู้ส่งออกจะเสียประโยชน์ หากผู้ส่งออกไม่ต้องการรับความเสี่ยงนี้ ก็สามารถทำได้โดยซื้อสิทธิที่จะขายเงิน  1 ล้านเหรียญ (Put option) ในอีก 3 เดือนข้างหน้า และเมื่อได้รับชำระค่าสินค้าก็ส่งมอบเงินจำนวนดังกล่าวตามสัญญาในอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามหากอัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่า 35 บาทต่อเหรียญ ก็อาจตัดสินใจไม่ใช้สิทธิใน Put Option นั้นก็ได้
       4.สัญญาแลกเปลี่ยน (Swap) คือ สัญญาระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย ในการแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดระหว่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ โดยก่อให้เกิดภาระผูกพันที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามในการส่งมอบกระแสเงินสดระหว่างกัน ตามงวดที่กำหนดตลอดอายุของสัญญา สัญญาแลกเปลี่ยนนี้อาจเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินก็ได้ สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นตราสารอนุพันธ์ที่เกิดขึ้นหลังสุด (ประมาณทศวรรษที่ 1970) เมื่อเทียบกับตราสารสิทธิและสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีมานานแล้ว สัญญาแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นเนื่องจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนมีความรุนแรงขึ้น อันเป็นผลมาจากการเปิดเสรีทางการเงินที่ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ สัญญาแลกเปลี่ยนถือกำเนิดขึ้นเพื่อช่วยจัดการความเสี่ยง ให้กระแสเงินสดจ่ายมีความเหมาะสมกับกระแสเงินสดรับ และสามารถลดความเสี่ยงลงได้ สัญญาแลกเปลี่ยนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
      1.สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (Interest swap)
      2.สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน (Cross currency swap)

ตลาดการเงินระหว่างประเทศ


ตลาดการเงินระหว่างประเทศ
ตลาดการเงินได้แบ่งแยกออกเป็น 2 ตลาด คือตลาดเงินและตลาดทุน ตลาดการเงินระหว่างประเทศก็มีลักษณะเช่นเดียวกันคือ แบ่งแยกออกเป็น 2 ตลาดคือตลาดเงินระหว่างประเทศและตลาดทุนระหว่างประเทศ
1. ตลาดเงินระหว่างประเทศ เป็นตลาดที่เกิดขึ้นมาเนื่องจากระบบการค้าขายที่มีการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ รวมถึงการให้กู้ยืมกันแต่เนื่องจากแต่ละประเทศมีสกุลเงินตราเป็นของตนเองดังนั้นการที่จะนำเงินตราสกุลหนึ่งไปใช้ในอีกประเทศหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ด้วยเหตุนี้ตลาดการเงินระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นมาเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ซึ่งหากพิจารณาคำนิยามของตลาดการเงินระหว่างประเทศแล้วจะหมายถึง สถานที่ที่ดำเนินธุรกรรมในด้านการซื้อขาย   แลกเปลี่ยน รวมถึงการให้กู้ยืมเงินโดยมีตราสารเครดิตที่มีอายุไม่เกิน 1 ปีเป็นเครื่องมือ ดังนั้นตลาดเงินระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศที่มีการติดต่อค้าขายหรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งความสำคัญของตลาดเงินระหว่างประเทศพอที่จะสรุปได้ดังนี้คือ
(1) ทำให้เกิดกระบวนการโอนอำนาจซื้อจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง  ซึ่ง รูปแบบการโอนอำนาจซื้อจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งอาจจะอยู่ใน 2 รูปแบบคือ
(1.1) เป็นการโอนอำนาจซื้อโดยการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศนั้นๆ เราคือเมื่อมีการซื้อสินค้ากันแล้วจะต้องมีการชำระเงินค่าสินค้าเป็นเงินตราสกุลของประเทศนั้นๆ หรืออาจ จะเป็นเงินตราสกุลอื่นที่ประเทศนั้นยอมรับ การดำเนินงานดังกล่าวจะดำเนินงานโดยผ่านตลาดเงินระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการนำเงินตราสกุลต่างประเทศที่ได้รับจากการขายสินค้าไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราสกุลของตนเองเป็นต้น
(1.2)  เป็นการโอนอำนาจซื้อโดยการให้กู้ยืม การโอนอำนาจซื้อในลักษณะนี้หากเปรียบเทียบกับตลาดเงินภายในประเทศแล้วตลาดเงินระหว่างประเทศเปรียบเสมือนสถาบันการเงินที่ทําหน้าที่ระดมเงินออมจากหน่วยเศรษฐกิจที่เกินดุล และจัดสรรเงินออมดังกล่าวไปสู่เศรษฐกิจที่ขาดดุล สิ่งที่แตกต่างกันก็คือขนาดของหน่วยเศรษฐกิจ กล่าวคือ ในตลาดเงินระหว่างประเทศหากกล่าวถึงหน่วยเศรษฐกิจที่ขาดดุลจะหมายถึงประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีความต้องการเงินทุนที่จะนำไปดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นๆ ส่วนหน่วยเศรษฐกิจที่เกินดุลก็หมายถึงประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง มีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศเกินดุลอยู่เสมอนั่นเอง ดังนั้น การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีความต้องการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อนำไปพัฒนาประเทศของตนเองจะต้องดำเนินการผ่านตลาดเงินระหว่างประเทศ เพราะนอกจากจะได้รับความสะดวกแล้วตลาดเงินระหว่างประเทศยังสามารถที่จะช่วยให้ผู้กู้ยืมหาแหล่งเงินทุนที่มีความเหมาะสมเช่น ต้นทุนหรืออัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น
(2) ตลาดเงินระหว่างประเทศจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ   กล่าวคือ หน่วยเศรษฐกิจทุกหน่วยที่อยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งสามารถที่จะใช้บริการในการกู้ยืมหรือให้กู้ยืมโดยผ่านตลาดเงินระหว่างประเทศได้ ซึ่งการกู้ยืมเงินผ่านตลาดเงินระหว่างประเทศจะอาศัยเครื่องมือทางการเงินระยะสั้น
(3)  ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าของอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ได้แต่ละประเทศจะมีโครงสร้างการผลิตที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อมีตลาดเงินระหว่างประเทศช่วยอำนาจความสะดวกในการชำระค่าสินค้าตลอดจนถึงการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่างๆ มาเป็นเงินตราสกุลของประเทศตนเอง จึงทำให้การค้าขายระหว่างประเทศมีอัตราการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดการขยายการผลิตในประเทศต่างๆมากขึ้น การจ้างงาน ก็จะมีเพิ่มมากขึ้น รายได้ของแต่ละประเทศก็จะเพิ่มสูงขึ้น และนอกจากนี้ตลาดเงินระหว่างประเทศยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาที่มีเงินทุนในการพัฒนาประเทศต่ำ ซึ่งรูปแบบการช่วยเหลือ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เช่น การให้กู้ยืมเงิน หรือการลงทุนโดยตรงของผู้ลงทุนจากประเทศอื่น เป็นต้น การดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลดีต่อประเทศนั้นๆ และก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของโลก

ในปัจจุบันตลาดเงินระหว่างประเทศที่สำคัญสำคัญจะประกอบไปด้วย (1) ตลาดยูโรดอลล่าร์( Euro-dayllar Makket) เป็นตลาดเงิน ที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของโลก เพราะเป็นตลาดเงินระหว่างประเทศที่เป็นแหล่งเงินกู้ที่สำคัญที่สุดของโลก ยูโรดอลล่าร์ หมายถึง เงินฝากสกุลดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกาที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์อื่นนอกประเทศ สาเหตุที่เกิดตลาดยูโรดอลลาร์ก็คือ กลุ่มประเทศสังคมนิยมบางประเทศต้องการถือเงินไว้ในรูปแบบของเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา แต่หากฝากเงินดังกล่าวไว้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่าจะถูกสหรัฐอเมริกายึดไว้เพื่อชดใช้ค่าเสียหายในทรัพย์สินของชาวอเมริกาที่อาศัยอยู่ในประเทศของตน ด้วยสาเหตุนี้กลุ่มประเทศสังคมนิยมเหล่านี้เลยนิยมนำเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาไปฝากไว้กับธนาคารแห่งรัฐของสหภาพโซเวียตที่เปิดสาขาอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีชื่อว่า "The Banque Commercial pour I'Europe du Nord S.A. ซึ่งได้ใช้รหัสโทรเลขในการติดต่อ ตลาดเงินตราระหว่างประเทศว่า "Eurobank" ทำให้ผู้ที่ติดต่อ ซื้อขายเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกาผ่านธนาคารนี้มักจะเรียกเงินดอลลาร์ที่ได้รับว่า "ยูโรดอลล่าร์" ตลาดยูโรดอลล่าร์ มีศูนย์กลางที่สำคัญอยู่หลายแห่งเช่น กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประเทศแคนาดา ประเทศเยอรมันนี สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ตลาดยูโรดอลล่าร์ มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเงินดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกาได้กระจายไปสู่ประเทศต่างๆมากขึ้น ทั้งในรูปแบบของเงินช่วยเหลือ เงินให้กู้ยืมรวมถึงเงินที่ชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งส่งผลทำให้กิจการของธนาคารพาณิชย์มีการขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากมีการกู้ยืมเงินยูโรดอลล่าร์ผ่านธนาคารพาณิชย์มากขึ้น รวมถึงมีการรับซื้อและขายเงินยูโรดอลล่าร์มากขึ้น ทำให้ ธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกำไรจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดีการที่ปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาได้กระจายไปสู่ประเทศอื่นมากมายจึงเป็นการยากที่สหรัฐอเมริกาจะสามารถควบคุมระบบการเงินของประเทศของตนเองได้ นอกจากนี้ตลาดยูโรดอลลาร์ยังมีความเสี่ยงจากการให้กู้ยืมสูงเพราะการให้กู้ยืมในแต่ละครั้งมีปริมาณเงินค่อนข้างมากแต่หลักประกันไม่มีความมั่นคงพอ (2) ตลาดอาเซียนดอลลาร์ (Aslan-dollar Market) เกิดขึ้นเนื่องจากโครงการความช่วยเหลือที่รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในเขตภูมิอากาศเอเชียซึ่งการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาจะโอนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ดังนั้นทำให้ปริมาณเงินดอลลาร์ที่หมุนเวียนอยู่ในภูมิภาคเอเชียเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงมีการจัดตั้งตลาดอาเซียนดอลลาร์ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลอื่นกับเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งสิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย ต่อมาได้มีการขยายไปยังประเทศญี่ปุ่นและฮ่องกง สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการวางแผนพัฒนาระบบการเงินเพื่อให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคเอเชีย การปรับปรุงระบบการเงินของประเทศไทยที่ผ่านมาเช่น การยกเลิกเพดานดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก การขยายกิจกรรมของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงการกำหนดอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์ตามมาตรฐาน BIS (Bank of lnternational Settlement) ส่วนกระบวนการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินนั้นประกอบไปด้วย (1) การพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดสรรเงินทุน กล่าวคือ ได้มีการสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ไทยไปเปิดสาขาหรือร่วมลงทุนกับธนาคารท้องถิ่นในกลุ่มประเทศอินโดจีน นอกจากนี้ได้มีการขยายขอบเขตของการใช้เงินบาทในด้านการค้าและการลงทุนเช่น การเพิ่มวงเงินที่จะนำออกนอกประเทศ การอนุญาตให้นำเงินบาทออกไปลงทุนในกลุ่มประเทศอินโดจีนและการสนับสนุนให้มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (letter of credit) และตั๋วเรียกเก็บเงินเป็นเงินบาท สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ (International Banking F acilities) ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งกิจการวิเทศธนกิจ หมายถึง กิจการของธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศ กู้ยืมในประเทศ และธุรกิจวิเทศธนกิจอื่นๆ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้สถาบันการเงินที่มีความพร้อมดำเนินธุรกรรม BIBF (Bankok International Banking Facilities) (2) การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินเฉพาะอย่าง กล่าวคือ ได้มีการอนุญาตให้สถาบันการเงินต่างประเทศในการดำเนินธุรกรรม BIBF ได้ นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาธุรกิจด้านการซื้อขาย การกู้ยืมระหว่างประเทศ รวมถึงตลาดทางการเงินล่วงหน้า นอกจากนี้ ยังได้มีการปฏิรูปตลาดทุนให้มีการระดมเงินทุน (3) การพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงินแบบครบวงจร กล่าวคือ ประเทศไทยจะต้องเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีการให้บริการในประเทศ และต่างประเทศ โดยมีสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศเป็นผู้ดำเนินการ 2. ตลาดเงินระหว่างประเทศ
ตลาดทุนระหว่างประเทศหมายถึง ศูนย์รวมของกิจกรรม ระหว่างประเทศที่ดำเนินกิจกรรมในด้านการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุการไถ่ถอนมากกว่า 1 ปี ตลาดทุนระหว่างประเทศยังแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
(1) ตลาดทุนภายในประเทศ หมายถึง ตลาดทุนที่ดำเนินกิจกรรมภายในกฎระเบียบของประเทศนั้นๆ และมีสถาบันการเงิน ผู้ลงทุนเป็นคนในประเทศนั้นๆ ทั้งนี้รวมถึงนักลงทุนชาวต่างประเทศที่มาลงทุนด้วย แต่ต้องอยู่ภายในกฎระเบียบของประเทศนั้นๆ
(2) ตลาดทุนภายนอก หมายถึง ตลาดที่ดำเนินกิจกรรมในแต่ละภูมิภาคหรือแต่ละประเทศ แต่การดำเนินกิจกรรมของตลาดดังกล่าวมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ในปัจจุบันตลาดหุ้นระหว่างประเทศที่สำคัญๆ
ประกอบไปด้วย
(1) ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดทุนที่ดำเนินกิจกรรมด้านการขายพันธบัตรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะตลาดพันธบัตรแยงกี้ ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด และเป็นตลาดที่มีผู้นิยมนำพันธบัตรมาขายในจำนวนมาก
(2) ตลาดญี่ปุ่น เป็นตลาดทุนที่ดำเนินกิจกรรมด้านการให้กู้ยืมเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา รวมถึงการซื้อขายพันธบัตรต่างประเทศ
(3) ตลาดทุนอังกฤษ เป็นศูนย์กลางการซื้อขายเงินยูโร จึงทำให้กิจกรรมการออกตราสารมาจำหน่ายมีเป็นจำนวนมาก กอปรกลับเป็นตลาดที่ดำเนินงานได้อย่างเสรี
(4) ตลาดหุ้นอิตาลีและสเปน เป็นตลาดที่ให้กู้ยืมแก่ภาครัฐบาลเป็นสำคัญอย่างไรก็ตามตลาดทุนระหว่างประเทศที่กล่าวมาแล้วข้างต้นล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศและของโลก ทั้งนี้เนื่องจากตลาดทุนระหว่างประเทศจะทำหน้าที่โอนเงินออมจากประเทศที่เกินดุลไปสู่ประเทศที่ขาดดุล ทำให้ประเทศที่ขาดดุลมีเงินทุนที่พอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตนเอง และสามารถที่จะพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายที่วางเอาไว้


ที่มา : http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC353/EC353-2.pdf
: อารีย์ เชื้อเมืองพาน(2542),การเงินการธนาคาร

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ความสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยน
         อัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญเพราะว่าอัตราแลกเปลี่ยนส่งกระทบต่อราคาเปรียบเทียบของสินค้าในประเทศราคาเงินบาทของสินค้าจากสหรัฐอเมริกา สำหรับคนไทยกำหนดโดยปัจจัย 2 ประการคือ ราคาเงินดอลล่าร์ของสินค้าสหรัฐอเมริกาและอัตราแลกเปลี่ยน  บาท/ดอลลาร์
         สมมุติว่า วรนัช สั่งซื้อรองเท้า Timber land  จากสหรัฐอเมริกาในราคาคู่ละ US$100 และอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 35 บาทต่อ US$1 ราคารองเท้าสำหรับวรนัช จะเท่ากับ 3,500 บาท (=$100 x 35 บาท/ $) สมมุติว่าวรนัช ตัดสินใจซื้อในเวลาอีก 3 เดือนต่อมาซึ่งเป็นเวลาที่ค่าเงินดอลล่าร์สูงขึ้น (appreciation) เป็น 40 บาทต่อ US$1 ราคาเงินบาทของรองเท้าสำหรับวรนัช จะสูงขึ้นเป็น 4000 บาท
         อย่างไรก็ดี การเพิ่มค่าเงิน (Appreciation) สกุลเงินประเทศใดจะทำให้ราคาของสินค้าต่างประเทศของประเทศนั้นถูกลงที่อัตราแลกเปลี่ยน 35 บาทต่อ  US$1 ราคากุ้งแช่แข็งกิโลกรัมละ 400 บาทจะเป็นต้นทุนการนำเข้าจากประเทศไทยไปยังสหรัฐอเมริกากิโลกรัมละ US$11.43 ผ้าอัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นเป็น 40 บาทต่อ US$1 ต้นทุนการนำเข้าจากประเทศไทยจะกลายเป็นกิโลกรัมละ US$10.00
         ตรงกันข้าม การลดค่าเงิน (Depreciation) ของเงินดอลล่าร์จะทำให้ต้นทุนของสินค้าจากสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยลดลงแต่จะทำให้ต้นทุนของสินค้าไทยในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้น ถ้าค่าเงินดอลล่าร์ลดลงเป็น 30บาทต่อ US$1 วรนัช จะสั่งซื้อรองเท้า Timber land จากสหรัฐอเมริการาคาเพียงคู่ละ 3000 บาทแทนที่จะเป็น 3500 บาทและกุ้งแช่แข่งจะมีต้นทุนกิโลกรัมละ US$13.33 แทนที่จะเป็น US$11.43
          ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่าเมื่อค่าเงินสกุลเงินประเทศใดสูงขึ้น (สูงขึ้นในหมดแล้วค่ะเมื่อเปรียบเทียบกับค่าสกุลเงินอื่น) สินค้าส่งออกของประเทศนั้นจะมีราคาแพงขึ้นและสินค้าต่างประเทศที่นำเข้าไปยังประเทศนั้นจะมีราคาถูกลง(กำหนดให้ราคาสินค้าภายในประเทศของทั้งสองประเทศคงที่) ตรงข้ามกันเมื่อค่าเงินสกุลประเทศใดลดลงสินค้าส่งออกของประเทศนั้นจะมีราคาลดลงและสินค้าต่างประเทศในประเทศนั้นจะมีราคาแพงขึ้น

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนในระบบการเงินระหว่างประเทศ
            ระบบอัตราแลกเปลี่ยนในระบบการเงินระหว่างประเทศ มีลักษณะพื้นฐาน 2 ประเภทคือระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate Regime) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate Regim )
            ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate Regim ) มูลค่าของเงินสกุลหนึ่งจะถูกกำหนดให้คงที่ (Pegged) โดยเปรียบเทียบ กับมูลค่าของเงินสกุลอื่นอีกสกุลหนึ่ง (ซึ่งเรียกว่า เงินสกุลหลัก หรือ Anchor Currency ) เพื่อที่ว่า อัตราแลกเปลี่ยนจะคงที่ในรูปของเงินสกุลหลัก ส่วนในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate Regim) มูลค่าของเงินสกุลหนึ่งจะผันผวนต่อเงินสกุลอื่นๆ ทั้งหมด เมื่อประเทศแทรกแซงในตลาดปริวรรตเงินตรา เพื่อพยายามที่จะมีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของตน โดยการซื้อหรือขายสินทรัพย์ต่างประเทศ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนนี้ เรียกว่า ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float Regime หรือ Dirty Float)
ระบบอัตราการแลกเปลี่ยนคงที่​ (Fixed Exchange Rate  Regimes)
           หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้ข้อตกลงในปี  ค.ส.​1944 ประเทศผู้ชนะสงครามได้จัดตั้งระบบอัตราการแลกเปลี่ยนเงินคงที่ที่รู้จักกันดีในชื่อระบบเบตรตีนวูดส์ (Bretton Woods System)​ ซึ่งระบบนี้ได้ ใช้มาจนกระทั่งปีค.ศ. 1971
           ข้อตกลง​ Bretton​ Woods​ ได้จัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศ​ (International  Monetary  Fund-IMF)​ ซึ่งซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซีสหรัฐอเมริกาซึ่งมีสมาชิกก่อตั้งสามสิบประเทศ 30 ประเทศในปี​ ค.ศ. 1954  และปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 180 ประเทศภาระหน้าที่ของ IMF คือการสนับสนุนและการส่งเสริมการค้าโลกโดยการกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการรักษาระดับอัตราการแลกเปลี่ยนให้คงที่ ส่วนหนึ่งของบทบาท​ IMF​ ในการกำกับให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์​ คือ​ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการจัดทำข้อมูลนั้นให้มีมาตรฐานเดียวกัน
          ข้อตกลง​ Bretton​ Woods​ ยังได้จัดตั้งธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะฟื้นฟูและการพัฒนา​ International​ Bank​ For Reconstruction and​ Development -​ IBRD)​ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ธนาคารโลก World Bank ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ธนาคารโลก เป็นแหล่งเงินกู้ระยะยาวที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาและสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็นเงินทุนเบื้องหลังสำหรับการกู้เหล่านี้ได้มาจากการออกพันธบัตรธนาคารโลกซึ่งมีการขายในตลาดทุนของประเทศที่พัฒนาแล้วยิ่งไปกว่านั้นข้อตกลงทั่วไปด้วยภาษีศุลกากร และการค้า (General Agreement on​ Tariffs and​ TRADE-GATT)​  ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ GATT เป็นความ ตกลงระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมประโยชน์ทางการค้าและ เศรษฐกิจที่ร่วมกันลงนามเมื่อปี ค.ศ.​ 1947 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการค้าเสรี โดยการลดภาษีศุลกากรระหว่างประเทศ การเจรจารอบที่ 8 ที่เรียกว่ารอบอุรุกวัย​ (Uruguay Round)​ เกิดปัญหาซับซ้อน และการใช้เวลาเจรจากันนานถึง 7 ปี​ (ค.ศ.​ 1986-1993) และได้รับการต่อต้านมากที่สุดมีผลทำให้เกิดการจัดตั้งองค์การนานาชาติ ขึ้นมาใหม่ คือ​ องค์การการค้าโลก (Wolrd​ Trade Organization -​ WTO)​ เพื่อทำหน้า เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงองค์การการค้าโลกจะทำหน้าที่ดูแล​ ข้อย่อย 3 ข้อตกลง​ คือ​ ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร​ (General Agreement on​ Tariff and​ Trade​ -GATT)​ ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้​ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการบริการ​ (General​ Agreement​ on​ Trade​ in​Services -GATS)​ และความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา​ (The​ Agreement​ on​ Trade​ -​ Related Aspects of​ Intellectual Property  Rights -​ TRIPS)​
           หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก​ มีกำลังการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และมีทองคำมากที่สุด ระบบ​ Bretton​ Woods​ มีอัตราการแลกเปลี่ยนของที่ รากฐานมาจากความสามารถในการยืนยัน​ US$  มาเป็นทองคำ​ ( สำหรับรัฐบาลและธนาคารกลางต่างประเทศเท่านั้น)​ โดยกำหนดไว้ที่​ US$35​ ต่อออนซ์​ ธนาคารกลางในแต่ละประเทศ​ ( นอกเหนือจากธนาคารกลางสหรัฐ)​ มีหน้าที่ในการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา​ เพื่อรักษาอัตราการแลกเปลี่ยนให้คงที่​ โดยการซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่เป็นเงิน US$ ที่เป็นธนาคารกลางเหล่านั้น​ ที่ไว้เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ​ เงิน​ US$ ที่ประเทศอื่นใช้ในการอ้างอิงเพื่อวัดมูลค่าของสินทรัพย์ ที่ถือไว้เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศนั้น​ เรียกว่า​  เงินสกุลสำรอง​ (Reserve​ Currency)​ ดังนั้น​ ลักษณะสำคัญของระบบ​ Bretton​ Woods​ คือ​ การก่อตั้งให้สหรัฐ​ เป็นเงินสกุลสำรอง​ ถึงแม้ว่าระบบ​ Bretton​ Woods​  ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว​  แต่เงิน US$ ยังคงเป็นสกุลเงินสำรอง ที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้ในการแลกเปลี่ยนทางการเงินระหว่างประเทศ
ในปีค.ศ 1971 ได้มีการยกเลิกระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ที่กำหนดโดยระบบ​ Bretton​ Woods​ อย่างไรก็ดี​ จากปี ค.ศ. 1979 ถึง 1990 สหภาพยุโรป ได้จัดตั้งระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ใช้กันในกลุ่มประเทศสมาชิก ที่เรียกว่า ระบบการเงินยุโรป​ (European Monetary System- EMS)​ มีวิธีกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน​ (European​ Rate​ Mechanism -​ ERM)​ ของระบบ​นี้​ คือ​ อัตราการแลกเปลี่ยน ระหว่างเงินกู้ของเงินสกุลต่างๆ ของประเทศที่เข้าร่วม​ จะต้องมีความผันผวนไปจากขอบเขตแคบๆ​ ที่ได้จำกัดไว้​ ซึ่งขอบเขตนี้เรียกว่า​ snake  ในทางปฏิบัติทุกประเทศ EMS กำหนดค่าเงินของตนเองกับเงินมาร์คของเยอรมัน

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float)
         ถึงแม้ว่าปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกปล่อยให้เป็นการเปลี่ยนแปลงรายวันเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด แต่ธนาคารกลางหลายแห่งยังคงใช้ทางเลือกที่จะเข้ามาแทรกแซงตลาด การป้องกันการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เป็นการง่ายต่อธุรกิจและบุคคลที่จะวางแผนในอนาคตที่จะซื้อหรือขายสินค้าต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น บ่อยครั้งที่ประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกินดุลไม่ต้องการให้ค่าเงินของตนเองสูงขึ้น เพราะจะทำให้สินค้าของตนเองมีราคาแพงในประเทศ แล้วสินค้าจากต่างประเทศมีราคาถูกลงในประเทศของตนเอง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นให้ค่างานอาจเป็นการทำลายธุรกิจภายในประเทศ และมีการวางงานมากขึ้น ดังนั้น ประเทศที่เกินดุก็จะต้องขายสดุกเงินของตนเองในตลาดปริวรรตเงินตรา และได้เงินสำรองระหว่างประเทศเข้ามา
         ประเทศที่มีดุลการชำระเงินขาดดุลไม่ต้องการเห็น ค่าเงินของตนเองลดลง เพราะจะทำให้สินค้าจากต่างประเทศมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้บริโภคภายในประเทศของตนเองและสามารถกระตุ้นเงินเฟ้อได้ เพื่อให้ค่าเงินสกุลภายในต่างประเทศสูง ประเทศที่ขาดดุลมากจะซื้อสกุลเงินของตนเองในตลาดปริวรรตเงินตราและสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศ
         ระบบการเงินระหว่างประเทศปัจจุบันเป็นแบบผสมระหว่างระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินคงที่และ ยืดหยุน  ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนจะตอบสนองต่อสภาวะตลาด แต่จะไม่ถูกกำหนดโดยสภาวะของตลาดเพียงอย่างเดียว ยิ่งไปกว่านั้น หลายประเทศยังคงรักษาค่ะงามสกุลของตน ต่อ สกุลให้คงที่
บทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
         ข้อตกลง Bretton Woods  ในปี  ค.ส 1944 ตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) เพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆ ดำเนินการกับปัญหาของดุลการชำระเงิน และกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่โดยการให้กู้แก่ประเทศที่ขาดดุล เมื่อระบบอัตราแลกเปลี่ยนของระบบ Bretton Woods ล่มสลายลงในปีค.ศ. 1971 IMF จึงมีบทบาทใหม่ในเวทีการเงินระหว่างประเทศ
          ถึงแม้ว่า IMF ไม่ได้พยายามที่จะสนับสนุนระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อีกต่อไป บทบาทในฐานะการเป็นผู้ให้กู้ยืมระหว่างประเทศมีความสำคัญมากในปัจจุบัน ที่เริ่มต้นในศตวรรษ 1980 ระหว่างช่วงวิกฤติในประเทศโลกที่สาม ซึ่ง IMF ได้ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการชำระหนี้นอกจากนี้ IMF ยังได้ให้เงินกู้จำนวนมหาศาลเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการณ์การเงินในประเทศแม็กซิโกในปีค.ศ. 1994-1995 และประเทศในเอเชียตะวันออก รวมทั้งไทยในปีค.ศ. 1997-1998 รวมทั้งประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการฟื้นฟูประเทศเกล้านี้จากภาวะวิกฤตและเป็นการป้องกันการลุกลาม ของวิกฤติเหล่านี้ไปยังประเทศอื่นๆบทบาทที่ IMF กำลังดำเนินอยู่นี้ (การผู้ให้ยืมระหว่างประเทศ) เป็นข้อถกเถียงที่มีความขัดแย้งอย่างมาก

ที่มา : 
        :   https://greedisgoods.com/fixed-exchange-rate-คือ/
        :   http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC353/EC353-1.pdf

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สกุลเงินตราต่างประเทศ


สกุลเงินตราที่ใช้ในปัจจุบัน


สกุลเงินสัญลักษณ์รหัสตัวเลขชื่อประเทศ
AEDد.إ784เดอร์แฮมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
AFNAf971อัฟกานี
  • อัฟกานิสถาน
ALLL008เลค
  • แอลเบเนีย
AMDԴ051ดรัมอาร์มาเนีย
  • อาร์มาเนีย
AOAKz973กวันซา
  • แองโกลา
ARS$032เปโซอาร์เจนตินา
  • อาร์เจนตินา
AUD$036ดอลลาร์ออสเตรเลีย
  • ออสเตรเลีย
  • คิริบาตี
  • เกาะมะพร้าว
  • นาอูรู
  • ตูวาลู
AWGƒ533โฟลรินอารูบา
  • อารูบา
AZNман944มานัตอาเซอร์ไบจาน
  • อาเซอร์ไบจาน
BAMКМ977คอนเวร์ทีบิลนามาร์ค
  • บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
BBD$052ดอลลาร์บาร์เบโดส
  • บาร์เบโดส
BDT050ตากา
  • บังกลาเทศ
BGNлв975เลฟบัลแกเรีย
  • บัลแกเรีย
BHDب.د048ดีนาร์บาห์เรน
  • บาห์เรน
BIF108ฟรังก์บุรุนดี
  • บุรุนดี
BMD$060ดอลลาร์เบอร์มิวดา
  • เบอร์มิวดา
BND$096ดอลลาร์บรูไน
  • บรูไน
  • สิงคโปร์
BOBBs.068โบลีเวียโน
  • โบลีเวีย
BRLR$986เรอัลบราซิล
  • บราซิล
BSD$044ดอลลาร์บาฮามาส
  • บาฮามาส
BTN064งุลตรัม
  • ภูฏาน
BWPP072ปูลา
  • บอตสวานา
BYRBr974รูเบิลเบลารุส
  • เบลารุส
BZD$084ดอลลาร์เบลีซ
  • เบลีซ
CAD$124ดอลลาร์แคนาดา
  • แคนาดา
CDF976ฟรังก์คองโก
  • คองโก (กวันซาแองโกลา)
CHF756ฟรังก์สวิส
  • ลิกเตนสไตน์
  • สวิตเซอร์แลนด์
CLP$152เปโซชิลี
  • ชิลี
CNY¥156หยวน
  • จีน
COP$170เปโซโคลอมเบีย
  • โคลอมเบีย
CRC188โกลอนคอสตาริกา
  • คอสตาริกา
CUP$192เปโซคิวบา
  • คิวบา
CVE$132อิชกูดูกาบูเวร์ดี
  • กาบูเวร์ดี
CZK203โครูนาเช็ก
  • สาธารณรัฐเช็ก
DJF262ฟรังก์จิบูตี
  • จิบูตี
DKKkr208โครนเดนมาร์ก
  • เดนมาร์ก
DOP$214เปโซโดมินิกา
  • สาธารณรัฐโดมินิกัน
DZDد.ج012ดีนาร์แอลจีเรีย
  • แอลจีเรีย
EGP£818ปอนด์อียิปต์
  • อียิปต์
ERNNfk232นัฟกา
  • เอริเทรีย
ETB230เบอร์เอธิโอเปีย
  • เอธิโอเปีย
EUR978ยูโร
  • แอโครเทียรีและดิเคเลีย
  • อันดอร์รา
  • ออสเตรีย
  • เบลเยี่ยม
  • ไซปรัส
  • เอสโตเนีย
  • ฟินแลนด์
  • ฝรั่งเศส
  • เยอรมนี
  • กรีซ
  • ไอร์แลนด์
  • อิตาลี
  • คอซอวอ
  • ลัตเวีย
  • ลิทัวเนีย
  • ลักเซมเบิร์ก
  • มอลตา
  • โมนาโก
  • มอนเตเนโกร
  • เนเธอร์แลนด์
  • โปรตุเกส
  • ซานมารีโน
  • สโลวาเกีย
  • สโววีเนีย
  • สเปน
  • วาติกัน
FJD$242ดอลลาร์ฟิจิ
  • ฟิจิ
FKP£238ปอนด์หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
  • หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
GBP£826ปอนด์สเตอร์ลิง
  • อัลเดอร์นีย์
  • บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี
  • เกรท บริเตน
  • เกาะแมน
GEL981ลารี
  • จอร์เจีย
  • เซาท์ออสซีเชีย
GHS936ซีดี
  • กานา
GIP£292ปอนด์ยิบรอลตาร์
  • ยิบรอลตาร์
GMDD270ดาราซี
  • แกมเบีย
GNF324ฟรังก์กินี
  • กินี
GTQQ320เกตซัล
  • กัวเตมาลา
GYD$328ดอลลาร์กายอานา
  • กายอานา
HKD$344ดอลลาร์ฮ่องกง
  • ฮ่องกง
HNLL340เลมปิรา
  • ฮอนดูรัส
HRKKn191คูนาโครเอเชีย
  • โครเอเชีย
HTGG332กูร์ด
  • เฮติ
HUFFt348โฟรินต์
  • ฮังการี
IDRRp360รูเปียห์
  • อินโดนีเซีย
ILS376เชเกลอิสราเอลใหม่
  • อิสราเอล
  • ปาเลสไตน์
INR356รูปีอินเดีย
  • ภูฏาน
  • อินเดีย
IQDع.د368ดินาร์อิรัก
  • อิรัก
IRR364เรียลอิหร่าน
  • อิหร่าน
ISKKr352โครนาไอซ์แลนด์
  • ไอซ์แลนด์
JMD$388ดอลลาร์จาเมกา
  • จาเมกา
JODد.ا400ดีนาร์จอร์แดน
  • จอร์แดน
JPY¥392เยน
  • ญี่ปุ่น
KESSh404ชิลลิงเคนยา
  • เคนยา
KGS417ซอม
  • คีร์กีซสถาน
KHR116เรียล
  • กัมพูชา
KPW408วอนเกาหลีเหนือ
  • เกาหลีเหนือ
KRW410วอนเกาหลีใต้
  • เกาหลีใต้
KWDد.ك414ดีนาร์คูเวต
  • คูเวต
KYD$136ดอลลาร์หมู่เกาะเคย์แมน
  • หมู่เกาะเคย์แมน
KZT398เตงเก
  • คาซัคสถาน
LAK418กีบ
  • ลาว
LBPل.ل422ปอนด์เลบานอน
  • เลบานอน
LKRRs144ศรีลังการูปี
  • ศรีลังกา
LRD$430ดอลลาร์ไลบีเรีย
  • ไลบีเรีย
LSLL426โลตี
  • เลโซโท
LYDل.د434ดีนาร์ลิเบีย
  • ลิเบีย
MADد.م.504ดีร์แฮมโมร็อกโก
  • โมร็อกโก
MDLL498ลิวมอลโดวา
  • มอลโดวา
MGA969อารีอารีมาดากัสการ์
  • มาดากัสการ์
MKDден807ดีนาร์
  • มาซิโดเนีย
MMKK104จัต
  • พม่า
MNT496ทูกรุก
  • มองโกเลีย
MOPP446ปาตากา
  • มาเก๊า
MROUM478อกียะฮ์
  • มอริเตเนีย
MUR480รูปีมอริเชียส
  • มอริเชียส
MVRރ.462รูฟียาห์
  • มัลดีฟส์
MWKMK454กวาจา
  • มาลาวี
MXN$484เปโซเม็กซิโก
  • เม็กซิโก
MYRRM458ริงกิตมาเลเซีย
  • มาเลเซีย
MZNMTn943เมตีกาล
  • โมซัมบิก
NAD$516ดอลลาร์นามิเบีย
  • นามิเบีย
NGN566ไนรา
  • ไนจีเรีย
NIOC$558กอร์โกบา
  • นิการากัว
NOKkr578โครนนอร์เวย์
  • นอร์เวย์
NPR524รูปีเนปาล
  • เนปาล
NZD$554ดอลลาร์นิวซีแลนด์
  • เกาะคุก
  • นิวซีแลนด์
  • นีอูเอ
  • หมู่เกาะพิตแคร์น
OMRر.ع.512เรียลโอมาน
  • โอมาน
PABB/.590บัลโบอา
  • ปานามา
PENS/.604นูเอโวซอล
  • เปรู
PGKK598คีนา
  • ปาปัวนิวกินี
PHP608เปโซฟิลิปปินส์
  • ฟิลิปปินส์
PKR586ปากีสถานรูปี
  • ปากีสถาน
PLN985ซโวตี
  • โปแลนด์
PYG600กวารานี
  • ปารากวัย
QARر.ق634ริยาลกาตาร์
  • กาตาร์
RONL946เลอู
  • โรมาเนีย
RSDdin941ดีนาร์เซอร์เบีย
  • คอซอวอ
  • เซอร์เบีย
RUBр.643รูเบิลรัสเซีย
  • รัสเซีย
  • เซาท์ออสซีเชีย
RWF646ฟรังก์รวันดา
  • รวันดา
SARر.س682ริยาลซาอุดีอาระเบีย
  • ซาอุดีอาระเบีย
SBD$090ดอลลาร์หมู่เกาะโซโลมอน
  • หมู่เกาะโซโลมอน
SCR690รูปีเซเชลส์
  • เซเชลส์
SDG£938ปอนด์ซูดาน
  • ซูดาน
SEKkr752โครนาสวีเดน
  • สวีเดน
SGD$702ดอลลาร์สิงคโปร์
  • บรูไน
  • สิงคโปร์
SHP£654ปอนด์เซนต์เฮเลนา
  • เกาะอัสเซนชัน
  • เซนต์เฮเลนา
  • ตริสตันดากูนยา
SLLLe694ลีโอน
  • เซียร์ราลีโอน
SOSSh706ชิลลิงโซมาเลีย
  • โซมาเลีย
SRD$968ดอลลาร์ซูรินาม
  • ซูรินาม
STDDb678โดบรา
  • เซาตูเมและปรินซิปี
SYPل.س760ปอนด์ซีเรีย
  • ปอนด์ซีเรีย
SZLL748ลีลังเกนี
  • สวาซิแลนด์
THB฿764บาท
  • ไทย
TJSЅМ972โซโมนี
  • ทาจิกิสถาน
TMTm934มานัต
  • เติร์กเมนิสถาน
TNDد.ت788ดีนาร์ตูนิเซีย
  • ตูนิเซีย
TOPT$776ปาอางา
  • ตองกา
TRY949ลีราใหม่ตุรกี
  • ไซปรัสเหนือ
  • ตุรกี
TTD$780ดอลลาร์ตรินิแดดและโตเบโก
  • ตรินิแดดและโตเบโก
TWD$901ดอลลาร์ไต้หวัน
  • ไต้หวัน
TZSSh834ชิลลิงแทนซาเนีย
  • แทนซาเนีย
UAH980ฮริฟเนีย
  • ยูเครน
UGXSh800ชิลลิงยูกันดา
  • ยูกันดา
USD$840ดอลลาร์สหรัฐ
  • อเมริกันซามัว
  • บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรี
  • หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน
  • กวม
  • เฮติ
  • หมู่เกาะมาร์แชลล์
  • ไมโครนีเซีย
  • หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
  • เกาะเล็กรอบนอกของสหรัฐอเมริกา
  • ปาเลา
  • ปานามา
  • เปอร์โตริโก
  • หมู่เกาะเติร์กและหมู่เกาะเคคอส
  • สหรัฐอเมริกา
  • หมู่เกาะเวอร์จิน
UYU$858เปโซอุรุกวัย
  • อุรุกวัย
UZS860ซอมอุซเบกิสถาน
  • อุซเบกิสถาน
VEFBs F937โบลีวาร์เวเนซุเอลา
  • เวเนซุเอลา
VND704ด่ง
  • เวียดนาม
VUVVt548วาตู
  • วานูอาตุ
WSTT882ตาลา
  • ซามัว
XAF950ฟรังก์ซีเอฟเอแอฟริกาตะวันตก
  • เบนิน
  • บูร์กินาฟาโซ
  • แคเมอรูน
  • สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
  • ชาด
  • คองโก
  • โกตดิวัวร์
  • อิเควทอเรียลกินี
  • กาบอง
  • กินี-บิสเซา
  • มาลี
  • ไนเจอร์
  • เซเนกัล
  • โตโก
XCD$951ดอลลาร์แคริบเบียนตะวันออก
  • แองกวิลลา
  • แอนติกาและบาร์บูดา
  • โดมินิกา
  • เกรนาดา
  • มอนต์เซอร์รัต
  • เซนต์คิตส์และเนวิส
  • เซนต์ลูเซีย
  • เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์
XPF953ฟรังก์ซีเอฟพี
  • เฟรนช์โปลินีเซีย
  • นิวแคลิโดเนีย
  • วาลลิสและฟุตูนา
YER886เรียลเยเมน
  • เยเมน
ZARR710แรนด์
  • เลโซโท
  • นามิเบีย
  • แอฟริกาใต้
ZMWZK967ควาซาแซมเบีย
  • แซมเบีย
ZWL$932ดอลลาร์ซิมบับเว
  • ซิมบับเว
สกุลเงิน – รหัสตัวอักษร 3 ตัว สำหรับ สกุลเงิน ที่สร้างขึ้นจากมาตรฐาน ISO 4217 รหัสตัวอักษรถูกใช้ในการทำธุรกรรมทางธนาคารระหว่างประเทศ การลงทุน และการเขียนข้อความอย่างย่อด้วยสัญลักษณ์ของจำนวนเงิน
สัญลักษณ์ – สัญลักษณ์ภาพทั่วโลก ถูกใช้ในการเขียนข้อความอย่างย่อด้วยสัญลักษณ์ของชื่อสกุลเงินด้วยจำนวนเงิน
รหัสตัวเลข – รหัสตัวเลข 3 ตัว สำหรับสกุลเงิน ได้กำหนดตามมาตรฐานตัวเลขของ ISO 3166-1 โดยปกติแล้ว รหัสตัวเลขของสกุลเงิน จะจับคู่กันกับรหัสประเทศ รหัสตัวเลขได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็น ตัวอักษร ที่ไม่ใช่ลาติน (non-latin alphabets) เพื่อตอบสนองความต้องการ ให้กับประเทศต่าง ๆ
ชื่อ – ชื่อทางการของสกุลเงิน
ประเทศ – ประเทศของสกุลเงิน และรูปภาพของธงประจำประเทศ

ที่มา : https://justforex.com/th/education/currencies
        : www.royin.go.th/?knowledges=ชื่อสกุลเงินตราต่างประe