วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ความสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยน
         อัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญเพราะว่าอัตราแลกเปลี่ยนส่งกระทบต่อราคาเปรียบเทียบของสินค้าในประเทศราคาเงินบาทของสินค้าจากสหรัฐอเมริกา สำหรับคนไทยกำหนดโดยปัจจัย 2 ประการคือ ราคาเงินดอลล่าร์ของสินค้าสหรัฐอเมริกาและอัตราแลกเปลี่ยน  บาท/ดอลลาร์
         สมมุติว่า วรนัช สั่งซื้อรองเท้า Timber land  จากสหรัฐอเมริกาในราคาคู่ละ US$100 และอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 35 บาทต่อ US$1 ราคารองเท้าสำหรับวรนัช จะเท่ากับ 3,500 บาท (=$100 x 35 บาท/ $) สมมุติว่าวรนัช ตัดสินใจซื้อในเวลาอีก 3 เดือนต่อมาซึ่งเป็นเวลาที่ค่าเงินดอลล่าร์สูงขึ้น (appreciation) เป็น 40 บาทต่อ US$1 ราคาเงินบาทของรองเท้าสำหรับวรนัช จะสูงขึ้นเป็น 4000 บาท
         อย่างไรก็ดี การเพิ่มค่าเงิน (Appreciation) สกุลเงินประเทศใดจะทำให้ราคาของสินค้าต่างประเทศของประเทศนั้นถูกลงที่อัตราแลกเปลี่ยน 35 บาทต่อ  US$1 ราคากุ้งแช่แข็งกิโลกรัมละ 400 บาทจะเป็นต้นทุนการนำเข้าจากประเทศไทยไปยังสหรัฐอเมริกากิโลกรัมละ US$11.43 ผ้าอัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นเป็น 40 บาทต่อ US$1 ต้นทุนการนำเข้าจากประเทศไทยจะกลายเป็นกิโลกรัมละ US$10.00
         ตรงกันข้าม การลดค่าเงิน (Depreciation) ของเงินดอลล่าร์จะทำให้ต้นทุนของสินค้าจากสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยลดลงแต่จะทำให้ต้นทุนของสินค้าไทยในสหรัฐอเมริกาสูงขึ้น ถ้าค่าเงินดอลล่าร์ลดลงเป็น 30บาทต่อ US$1 วรนัช จะสั่งซื้อรองเท้า Timber land จากสหรัฐอเมริการาคาเพียงคู่ละ 3000 บาทแทนที่จะเป็น 3500 บาทและกุ้งแช่แข่งจะมีต้นทุนกิโลกรัมละ US$13.33 แทนที่จะเป็น US$11.43
          ดังนั้นเราจึงสรุปได้ว่าเมื่อค่าเงินสกุลเงินประเทศใดสูงขึ้น (สูงขึ้นในหมดแล้วค่ะเมื่อเปรียบเทียบกับค่าสกุลเงินอื่น) สินค้าส่งออกของประเทศนั้นจะมีราคาแพงขึ้นและสินค้าต่างประเทศที่นำเข้าไปยังประเทศนั้นจะมีราคาถูกลง(กำหนดให้ราคาสินค้าภายในประเทศของทั้งสองประเทศคงที่) ตรงข้ามกันเมื่อค่าเงินสกุลประเทศใดลดลงสินค้าส่งออกของประเทศนั้นจะมีราคาลดลงและสินค้าต่างประเทศในประเทศนั้นจะมีราคาแพงขึ้น

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนในระบบการเงินระหว่างประเทศ
            ระบบอัตราแลกเปลี่ยนในระบบการเงินระหว่างประเทศ มีลักษณะพื้นฐาน 2 ประเภทคือระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate Regime) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate Regim )
            ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate Regim ) มูลค่าของเงินสกุลหนึ่งจะถูกกำหนดให้คงที่ (Pegged) โดยเปรียบเทียบ กับมูลค่าของเงินสกุลอื่นอีกสกุลหนึ่ง (ซึ่งเรียกว่า เงินสกุลหลัก หรือ Anchor Currency ) เพื่อที่ว่า อัตราแลกเปลี่ยนจะคงที่ในรูปของเงินสกุลหลัก ส่วนในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate Regim) มูลค่าของเงินสกุลหนึ่งจะผันผวนต่อเงินสกุลอื่นๆ ทั้งหมด เมื่อประเทศแทรกแซงในตลาดปริวรรตเงินตรา เพื่อพยายามที่จะมีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนของตน โดยการซื้อหรือขายสินทรัพย์ต่างประเทศ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนนี้ เรียกว่า ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float Regime หรือ Dirty Float)
ระบบอัตราการแลกเปลี่ยนคงที่​ (Fixed Exchange Rate  Regimes)
           หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้ข้อตกลงในปี  ค.ส.​1944 ประเทศผู้ชนะสงครามได้จัดตั้งระบบอัตราการแลกเปลี่ยนเงินคงที่ที่รู้จักกันดีในชื่อระบบเบตรตีนวูดส์ (Bretton Woods System)​ ซึ่งระบบนี้ได้ ใช้มาจนกระทั่งปีค.ศ. 1971
           ข้อตกลง​ Bretton​ Woods​ ได้จัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศ​ (International  Monetary  Fund-IMF)​ ซึ่งซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซีสหรัฐอเมริกาซึ่งมีสมาชิกก่อตั้งสามสิบประเทศ 30 ประเทศในปี​ ค.ศ. 1954  และปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 180 ประเทศภาระหน้าที่ของ IMF คือการสนับสนุนและการส่งเสริมการค้าโลกโดยการกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการรักษาระดับอัตราการแลกเปลี่ยนให้คงที่ ส่วนหนึ่งของบทบาท​ IMF​ ในการกำกับให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์​ คือ​ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการจัดทำข้อมูลนั้นให้มีมาตรฐานเดียวกัน
          ข้อตกลง​ Bretton​ Woods​ ยังได้จัดตั้งธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะฟื้นฟูและการพัฒนา​ International​ Bank​ For Reconstruction and​ Development -​ IBRD)​ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ธนาคารโลก World Bank ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ธนาคารโลก เป็นแหล่งเงินกู้ระยะยาวที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาและสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็นเงินทุนเบื้องหลังสำหรับการกู้เหล่านี้ได้มาจากการออกพันธบัตรธนาคารโลกซึ่งมีการขายในตลาดทุนของประเทศที่พัฒนาแล้วยิ่งไปกว่านั้นข้อตกลงทั่วไปด้วยภาษีศุลกากร และการค้า (General Agreement on​ Tariffs and​ TRADE-GATT)​  ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ GATT เป็นความ ตกลงระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมประโยชน์ทางการค้าและ เศรษฐกิจที่ร่วมกันลงนามเมื่อปี ค.ศ.​ 1947 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการค้าเสรี โดยการลดภาษีศุลกากรระหว่างประเทศ การเจรจารอบที่ 8 ที่เรียกว่ารอบอุรุกวัย​ (Uruguay Round)​ เกิดปัญหาซับซ้อน และการใช้เวลาเจรจากันนานถึง 7 ปี​ (ค.ศ.​ 1986-1993) และได้รับการต่อต้านมากที่สุดมีผลทำให้เกิดการจัดตั้งองค์การนานาชาติ ขึ้นมาใหม่ คือ​ องค์การการค้าโลก (Wolrd​ Trade Organization -​ WTO)​ เพื่อทำหน้า เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงองค์การการค้าโลกจะทำหน้าที่ดูแล​ ข้อย่อย 3 ข้อตกลง​ คือ​ ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร​ (General Agreement on​ Tariff and​ Trade​ -GATT)​ ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้​ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการบริการ​ (General​ Agreement​ on​ Trade​ in​Services -GATS)​ และความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา​ (The​ Agreement​ on​ Trade​ -​ Related Aspects of​ Intellectual Property  Rights -​ TRIPS)​
           หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก​ มีกำลังการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และมีทองคำมากที่สุด ระบบ​ Bretton​ Woods​ มีอัตราการแลกเปลี่ยนของที่ รากฐานมาจากความสามารถในการยืนยัน​ US$  มาเป็นทองคำ​ ( สำหรับรัฐบาลและธนาคารกลางต่างประเทศเท่านั้น)​ โดยกำหนดไว้ที่​ US$35​ ต่อออนซ์​ ธนาคารกลางในแต่ละประเทศ​ ( นอกเหนือจากธนาคารกลางสหรัฐ)​ มีหน้าที่ในการแทรกแซงตลาดปริวรรตเงินตรา​ เพื่อรักษาอัตราการแลกเปลี่ยนให้คงที่​ โดยการซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่เป็นเงิน US$ ที่เป็นธนาคารกลางเหล่านั้น​ ที่ไว้เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ​ เงิน​ US$ ที่ประเทศอื่นใช้ในการอ้างอิงเพื่อวัดมูลค่าของสินทรัพย์ ที่ถือไว้เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศนั้น​ เรียกว่า​  เงินสกุลสำรอง​ (Reserve​ Currency)​ ดังนั้น​ ลักษณะสำคัญของระบบ​ Bretton​ Woods​ คือ​ การก่อตั้งให้สหรัฐ​ เป็นเงินสกุลสำรอง​ ถึงแม้ว่าระบบ​ Bretton​ Woods​  ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว​  แต่เงิน US$ ยังคงเป็นสกุลเงินสำรอง ที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้ในการแลกเปลี่ยนทางการเงินระหว่างประเทศ
ในปีค.ศ 1971 ได้มีการยกเลิกระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ที่กำหนดโดยระบบ​ Bretton​ Woods​ อย่างไรก็ดี​ จากปี ค.ศ. 1979 ถึง 1990 สหภาพยุโรป ได้จัดตั้งระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ใช้กันในกลุ่มประเทศสมาชิก ที่เรียกว่า ระบบการเงินยุโรป​ (European Monetary System- EMS)​ มีวิธีกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน​ (European​ Rate​ Mechanism -​ ERM)​ ของระบบ​นี้​ คือ​ อัตราการแลกเปลี่ยน ระหว่างเงินกู้ของเงินสกุลต่างๆ ของประเทศที่เข้าร่วม​ จะต้องมีความผันผวนไปจากขอบเขตแคบๆ​ ที่ได้จำกัดไว้​ ซึ่งขอบเขตนี้เรียกว่า​ snake  ในทางปฏิบัติทุกประเทศ EMS กำหนดค่าเงินของตนเองกับเงินมาร์คของเยอรมัน

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float)
         ถึงแม้ว่าปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกปล่อยให้เป็นการเปลี่ยนแปลงรายวันเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด แต่ธนาคารกลางหลายแห่งยังคงใช้ทางเลือกที่จะเข้ามาแทรกแซงตลาด การป้องกันการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้เป็นการง่ายต่อธุรกิจและบุคคลที่จะวางแผนในอนาคตที่จะซื้อหรือขายสินค้าต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น บ่อยครั้งที่ประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกินดุลไม่ต้องการให้ค่าเงินของตนเองสูงขึ้น เพราะจะทำให้สินค้าของตนเองมีราคาแพงในประเทศ แล้วสินค้าจากต่างประเทศมีราคาถูกลงในประเทศของตนเอง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นให้ค่างานอาจเป็นการทำลายธุรกิจภายในประเทศ และมีการวางงานมากขึ้น ดังนั้น ประเทศที่เกินดุก็จะต้องขายสดุกเงินของตนเองในตลาดปริวรรตเงินตรา และได้เงินสำรองระหว่างประเทศเข้ามา
         ประเทศที่มีดุลการชำระเงินขาดดุลไม่ต้องการเห็น ค่าเงินของตนเองลดลง เพราะจะทำให้สินค้าจากต่างประเทศมีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้บริโภคภายในประเทศของตนเองและสามารถกระตุ้นเงินเฟ้อได้ เพื่อให้ค่าเงินสกุลภายในต่างประเทศสูง ประเทศที่ขาดดุลมากจะซื้อสกุลเงินของตนเองในตลาดปริวรรตเงินตราและสูญเสียเงินสำรองระหว่างประเทศ
         ระบบการเงินระหว่างประเทศปัจจุบันเป็นแบบผสมระหว่างระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินคงที่และ ยืดหยุน  ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนจะตอบสนองต่อสภาวะตลาด แต่จะไม่ถูกกำหนดโดยสภาวะของตลาดเพียงอย่างเดียว ยิ่งไปกว่านั้น หลายประเทศยังคงรักษาค่ะงามสกุลของตน ต่อ สกุลให้คงที่
บทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
         ข้อตกลง Bretton Woods  ในปี  ค.ส 1944 ตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund-IMF) เพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆ ดำเนินการกับปัญหาของดุลการชำระเงิน และกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่โดยการให้กู้แก่ประเทศที่ขาดดุล เมื่อระบบอัตราแลกเปลี่ยนของระบบ Bretton Woods ล่มสลายลงในปีค.ศ. 1971 IMF จึงมีบทบาทใหม่ในเวทีการเงินระหว่างประเทศ
          ถึงแม้ว่า IMF ไม่ได้พยายามที่จะสนับสนุนระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่อีกต่อไป บทบาทในฐานะการเป็นผู้ให้กู้ยืมระหว่างประเทศมีความสำคัญมากในปัจจุบัน ที่เริ่มต้นในศตวรรษ 1980 ระหว่างช่วงวิกฤติในประเทศโลกที่สาม ซึ่ง IMF ได้ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการชำระหนี้นอกจากนี้ IMF ยังได้ให้เงินกู้จำนวนมหาศาลเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการณ์การเงินในประเทศแม็กซิโกในปีค.ศ. 1994-1995 และประเทศในเอเชียตะวันออก รวมทั้งไทยในปีค.ศ. 1997-1998 รวมทั้งประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการฟื้นฟูประเทศเกล้านี้จากภาวะวิกฤตและเป็นการป้องกันการลุกลาม ของวิกฤติเหล่านี้ไปยังประเทศอื่นๆบทบาทที่ IMF กำลังดำเนินอยู่นี้ (การผู้ให้ยืมระหว่างประเทศ) เป็นข้อถกเถียงที่มีความขัดแย้งอย่างมาก

ที่มา : 
        :   https://greedisgoods.com/fixed-exchange-rate-คือ/
        :   http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC353/EC353-1.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น